ปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

ปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

ปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

ปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายเงินล่วงหน้าไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับบริการหรือรับบริการยังไม่ครบตามจำนวนเงินที่จ่ายไป ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนี้ส่วนหนึ่ง และเหลืออีกส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีถัดไป จึงถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน การบันทึกจำนวนเงินที่จ่ายไปสามารถบันทึกได้ 2 วิธี คือ

  1. การบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ทั้งจำนวนเป็นสินทรัพย์ในวันที่จ่ายเงิน
  • เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า XXX (รายการสินทรัพย์ในงบดุล)
  • เครดิต เงินสด XXX

ณ วันสิ้นงวดซึ่งได้ใช้บริการไปแล้วบางส่วนก็จะลงบันทึกล้างค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าในส่วนที่ได้ใช้บริการแล้วออก โดยจะบันทึกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแทน

  • เดบิต ค่าใช้จ่าย XXX (รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน)
  • เครดิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า XXX

ตัวอย่าง บริษัทจ่ายค่าเบี้ยประกัน 12,000 บาท กรมธรรม์อายุ 1 ปี โดยจ่ายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559

  • เดบิต ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า 12,000
  • เครดิต เงินสด 12,000

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัทต้องปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีสำหรับวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559-31 ธันวาคม 2559 รวม 2 เดือน เป็นเงิน 2,000 บาท

  • เดบิต ค่าเบี้ยประกันภัย 2,000
  • เครดิต ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า 2,000

 

  1. กิจการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนเป็นรายการในงบกำไรขาดทุน
  • เดบิต ค่าใช้จ่าย XXX (รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน)
  • เครดิต เงินสด XXX

ณ วันสิ้นงวดซึ่งได้ใช้บริการไปแล้วบางส่วนแต่ยังไม่ได้รับบริการไม่ครบทั้งจำนวน ดังนั้น หากบันทึกรายการทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายจะทำให้การรับรู้ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป จึงต้องทำการปรับปรุงรับรู้ค่าใช้จ่ายให้แสดงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับงวดบัญชีนี้เท่านั้น แล้วนำส่วนที่ยังไม่ได้รับบริการไปแสดงเป็นรายการค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

  • เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า XXX (รายการสินทรัพย์ในงบดุล)
  • เครดิต ค่าใช้จ่าย XXX

ตัวอย่าง บริษัทจ่ายค่าเบี้ยประกัน 12,000 บาท กรมธรรม์อายุ 1 ปี โดยจ่ายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559

  • เดบิต ค่าเบี้ยประกันภัยจ่าย 12,000
  • เครดิต เงินสด 12,000

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัทต้องปรับปรุงเป็นค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า สำหรับวันที่  1 มกราคม 2560 -31 ตุลาคม 2560 รวม 10 เดือน เป็นเงิน 10,000 บาท

  • เดบิต ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า 10,000
  • เครดิต ค่าเบี้ยประกันภัยจ่าย 10,000

บทความโดย : https://www.pornkawinthip.com

 

 85915
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์