พฤติกรรมต้นทุน (Cost Behavior)

พฤติกรรมต้นทุน (Cost Behavior)

พฤติกรรมต้นทุน (Cost Behavior)

ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนการผลิต เช่น วัตถุดิบ ค่าแรงรายชั่วโมง

ตัวอย่างที่ 1 บริษัทวรุณ จำกัด ผลิตเครื่องเล่นเสตอริโอ ภายใต้ยี่ห้อV-sound บริษัทซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ จากผู้ผลิตรายย่อย (Supplier) ภายนอก ราคาชิ้นละ 10 บาท ดังนั้น ยิ่งต้องการจำนวนมาก ๆ ก็จะทำให้ต้นทุน ในการซื้อเพิ่มขึ้น ถือเป็นต้นทุนผันแปร

โดยที่ ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่ คือ  10 บาท/หน่วย  แต่ต้นทุนรวมจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนหน่วยผลิต

ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือต้นทุนที่ไม่เพิ่มขึ้น จากเดิม แม้จะเพิ่มจำนวนการผลิต เช่น เงินเดือน  เครื่องจักร ค่าเช่า

                ตัวอย่าง สมรเป็นผู้ควบคุมการผลิตของบริษัท น้ำหอมไทย จำกัด โดยได้รับเงินเดือนปีละ 75,00 บาท บริษัทผลิตน้ำหอมปีละ 50,000 –300,000 ขวด (ดังนั้นไม่ว่า สมร จะผลิตมาหรือน้อย ก็ได้เงินเดือนเท่าเดิม ถือเป็นต้นทุนคงที่ ยกเว้นจะผลิตเกินไปจาก 300,000 จึงจะต้องจ่ายค่า OT เพิ่มให้กับสมร)

จำนวนขวดที่ผลิต

เงินเดือนสมร

เงินเดือน/ขวดที่ผลิต

50,000

75,000

1.500

100,000

75,000

0.750

150,000

75,000

0.500

200,000

75,000

0.375

250,000

75,000

0.300

300,000

75,000

0.250

ต้นทุนผสม (Mixed Cost) เป็นต้นทุนที่มีทั้งต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร เช่นค่าโทรศัพท์ ถ้ารับอย่างเดียวจะมีต้นทุนคงที่รายเดือน 100 บาท แต่ถ้ามีการโทรออกก็จะเสียค่าโทรเป็นต้นทุนผันแปร

                ตัวอย่าง บริษัทไทยเทคโนโลยี จำกัด ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ โดยเช่าเครื่องมือในอัตราปีละ 15,000 บาท โดยจะบวกเพิ่มอีกชั่วโมงละ 1 บาท ถ้าใช้เกิน 10,000 ชั่วโมง

                ดังนั้น จะต้องแยกส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร ออกมาวิเคราะห์เชิงจัดการ โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น

วิธีกำหนดระดับ สูง-ต่ำ (high – low method) เป็นวิธีการที่ง่ายในการแยกส่วนต้นทุนออกเป็น คงที่และผันแปร

ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย  =  ต้นทุนสูงสุด  ต้นทุนต่ำสุด / จำนวนต้นทุนสูงสุด  จำนวนต้นทุนต่ำสุด

 


เช่น

เดือน

ผลิต(หน่วย)

ต้นทุนรวม(บาท)

มิ.ย.

1,000

45,500

ก.ค.

1,500

52,000

ส.ค.

2,100

61,500

ก.ย.

1,800

57,500

ต.ค.

750

41,250

ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย      =  61,500  41,250 / 2,100  750

                                                =   20,250 / 1,350

                                                =   15

ต้นทุนรวม             = (ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย x จำนวนหน่วยที่ผลิต) + ต้นทุนคงที่

 

                61,500                                     =  ( 15 x 2,100) + ต้นทุนคงที่

                61,500 -   ( 15 x 2,100)          =  ต้นทุนคงที่

                61,500 -   ( 31,500)                 =  ต้นทุนคงที่

                30,000                                     =  ต้นทุนคงที่

41,250     = (15 x 750) + 30,000

41,250     = (11,250) + 30,000

41,250     = 41,250

 

61,500     = (15 x 2,100) + 30,000

61,500     = (31,500) + 30,000

61,500     = 61,500

 

พิสูจน์  งบกำไรส่วนเกิน ( Contribution Margin Income) กำไรส่วนเกินคือ รายได้หลังหักต้นทุนผันแปร ที่สามารถนำไปชดเชยต้นทุนคงที่ และมีเหลือเป็นกำไรจากการดำเนินงาน

ขาย         =  ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่ + กำไรจากการดำเนินงาน

 

ขาย   -  ต้นทุนผันแปร    =  กำไรส่วนเกิน

 

 จุดคุ้มทุน (Break  even point) เป็นจุดที่รายได้ เท่ากับต้นทุน

                รายได้  =  ต้นทุน

 

สมการ หาจำหน่ายหน่วยที่คุ้มทุน

    รายได้             ต้นทุน                 =   กำไร                                                        (ในที่นี้ กำไร = 0)

 (P x Q) – (TVC + TFC)          =   กำไร

(PxQ)-[(VxQ) – TFC ]            =   กำไร           

(PxQ) – (VxQ) – TFC             =   กำไร

Q(P-V) – TFC =    0

                          Q(P-V)          = TFC

Q         = TFC / P-V

                                 หน่วยขายที่คุ้มทุน =  ต้นทุนคงที่รวม  / ราคาขาย– ต้นทุนผันแปร

 

 ตัวอย่างที่ 1  

                ขายบัตรโทรศัพท์                                                                                100          บาท

                ต้นทุนผันแปร                                                                                     80            บาท

                กำไรส่วนเกิน (100-80)                                                                       20            บาท

                ต้นทุนคงที่ (ค่าเช่า)                                              2,000      บาท/เดือน

                                   (เงินเดือนพนักงานขาย)     1,000       บาท/เดือน

                                รวมต้นทุนคงที่ (2,000+1,000)                                             3000        บาท       

  1. จงหาหน่วยขาย ที่จะคุ้มทุน

จุดคุ้มทุน(หน่วย) =  ต้นทุนคงที่รวม  / ราคาขาย  ต้นทุนผันแปร

จุดคุ้มทุน(หน่วย) =  ต้นทุนคงที่รวม  / กำไรส่วนเกิน

                                = 3000 / 100  80

                                = 3000 / 20

                                = 150      หน่วย (ใบ)

  1. หากต้องการกำไรจากการดำเนินการ 1000 บาท จะต้องขายกี่หน่วย

                                หน่วยขายที่ให้กำไรตามเป้าหมาย (Target Profit) = TFC+ Profit  / P - V

ขาย(หน่วย)         =  ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ  / ราคาขาย  ต้นทุนผันแปร

ขาย(หน่วย)         =  ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ  / กำไรส่วนเกิน

                                                        = 3000 + 1000 / 80 -20

                                                        = 4000 / 20

                                                        = 200      หน่วย(ใบ)

พิสูจน์                     ขาย  (200 หน่วย x 100)                        =            20000      บาท

                                ต้นทุนผันแปร ( 200 หน่วย x80)         =            16000      บาท

                                กำไรส่วนเกิน ( 200 หน่วย x (100-80))

                                                       ( 200 x 20)                       =            4000        บาท

                                ต้นทุนคงที่                                             =            3000        บาท

                                กำไรจากการดำเนินงาน                        =          1000       บาท

ตัวอย่างที่ 2  เสรี ดำเนินธุรกิจห้องอาหาร โดยมีต้นทุนคงที่ 420,000 บาท  มีรายได้เฉลี่ย/หัวของลูกค้า 380 บาท มีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 212 บาท

1). ถ้าเสรี ต้องการกำไรจาการดำเนินงาน 168,000 บาท /เดือน จะต้องมีลูกค้ามาอุดหนุนกี่คน

ขาย(หน่วย)         =  ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ  / ราคาขาย  ต้นทุนผันแปร

                ขาย(หน่วย)         =  ต้นทุนคงที่รวม + กำไรที่ต้องการ / กำไรส่วนเกิน

                                    =  420,000 + 168,000 / 380 - 212

                                                =  588,000 / 168

                                                =  3,500  หน่วย(คน)

 2) ถ้าลูกค้าลดลง 10 % จะได้กำไรเดือนละเท่าไร

                                ขาย  3500  (3500x10%) x 380         

                               (3500  350 = 3150) x 380         =             1,197,000                บาท

                                ต้นทุนผันแปร ( 3150 หน่วย x212)     =                667,800               บาท

                                กำไรส่วนเกิน                                    =                529,000               บาท

                                ต้นทุนคงที่                                             =                420,000               บาท

                                กำไรจากการดำเนินงาน                        =             109,200              บาท

3) เพื่อแก้ไขปัญหาลูกค้าลดลง เสรีได้ว่าจ้าง นักดนตรีและนักร้องมาร้องเพลง คืนละ 4 ชม. คิดเป็นเงิน 40,000 บาท/เดือน ทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น จาก 3150 เป็น 3450 คน จะทำให้เสรีมีกำไรต่อเดือนเท่าไร

                                ต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้น 420,000+40,000 = 460,000

                                ลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น  3450  คน

ดังนั้น

                                ขาย  (3450 หน่วย x 380)                      =            1,311,000                บาท

                                ต้นทุนผันแปร ( 3450 หน่วย x212)     =               731,400                บาท

                                กำไรส่วนเกิน                                        =               579,600                บาท

                                ต้นทุนคงที่                                             =               460,000                บาท

                                กำไรจากการดำเนินงาน                        =            119,600                บาท

ส่วนผสมการขาย (Sale Mix)

                ตัวอย่างที่ 1 บริษัทสินธร จำกัด ขายผลิตภัณฑ์  ก 8,000 หน่วย และผลิตภัณฑ์ ข. 2,000 หน่วย ในระหว่างปีที่ผ่านมา ต้นทุนคงที่ของบริษัทเท่ากับ 200,000 บาท ข้อมูลอื่น ๆ มีดังนี้

ผลิตภัณฑ์ ก

ผลิตภัณฑ์ ข

ราคาขาย

90

140

ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย

70

95

กำไรส่วนเกินต่อหน่วย

20

45

ส่วนผสมการขาย

80%

20%

กำไรส่วนเกินของส่วนผสมการขาย/หน่วย

(20x80%)  = 16

(45x20%)  = 9

ดังนั้น

                                กำไรส่วนเกินต่อหน่วย ของส่วนผสมการขาย ก + ข จึงเท่ากับ  16+9 =  25

 จุดคุ้มทุนขาย(หน่วย)            =     ต้นทุนคงที่ / กำไรส่วนเกิน

                                                                          =  20,000 / 25

                                                                         =  8,000 หน่วย

                        โดยผลิตภัณฑ์ ก    8,000 หน่วย x 80%              =             6,400

                            โดยผลิตภัณฑ์ ข    8,000 หน่วย x 20%              =            1,600

                                                                รวม                                         =            8,000 หน่วย

ส่วนเกินที่ปลอดภัย (Margin of Safety) แสดงถึงยอดขายที่อาจลดลงได้ก่อนที่จะขาดทุน เพื่อลดราคา (Discount)

                                Margin of Safety       = ขาย  -  ขาย  ณ จุดคุ้มทุน  /  ขาย

เช่น                         Margin of Safety       = 250,000  -  200,000  /  250,000

                                                                                = 20%

บทความโดย : http://xn--12cfjb4gd5dd4a6b2cxaftl4pk4s.blogspot.com

 25375
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์