การควบรวมกิจการ

การควบรวมกิจการ

การที่กิจการนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์อาจเกิดจากหลายเหตุผล เช่น ต้องการกระจายความเสี่ยง ต้องการลงทุนในตลาดใหม่ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น โดยที่การลงทุนนั้นๆก็จะหวังผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ เงินปันผล ดอกเบี้ย และส่วนเกินจากราคา(กำไรจากการถือครอง)

สรุปแล้ว การลงทุนนั้นก็จะนำไปสู่การซื้อธุรกิจ อันจะส่งผลต่อการรายงานทางการเงินเกี่ยวกับเงินลงทุนซึ่งจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลหรือความสามารถในการควบคุมต่อบริษัทที่เราไปลงทุน นั่นเอง

แนวทาง ในการที่จะวัดความมีอิทธิพลอย่างมีสาระสำคัญในการควบคุมซึ่งอเมริกายังใช้อยู่ ซึ่งของไทยยกเลิกไปแล้วแต่ในทางปฏิบัติยังใช้อยู่ ได้แก่

ระดับของการลงทุน

ระดับอิทธิพล

วิธีที่ใช้ในรายงาน

น้อยกว่า 20%

ไม่มีอิทธิพลอย่างมี              สาระสำคัญ

cost / Market

20% - 50%

มีอิทธิพลอย่างมีสาระสำคัญ               แต่ไม่มีอำนาจควบคุม

Equity method

มากกว่า 50%

มีอิทธิพลอย่างมีสาระสำคัญ               และควบคุมได้

Consolidation

จุดมุ่งหมายหลักในการจัดประเภทรายงานเป็นแบบต่างๆ ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถในการควบคุมของผู้ลงทุน ว่ามีอิทธิพลต่อกิจการที่ถูกลงทุนมากน้อยแค่ไหน ดังนี้

  • cost / Market - แสดงให้เห็นว่าทั้งสองบริษัทจะถูกแยกออกเป็นคนละส่วน ไม่เกี่ยวข้องกัน รายได้หรือกำไรจะขึ้นอยู่กับเงินปันผลที่ได้รับจริง หรือขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าทางการตลาดของเงินลงทุน
  • Equity Method - แสดงให้เห็นความมีอิทธิพลในบริษัทที่เราไปลงทุน ดังนั้นการจัดทำรายงานจึงควรรวมไปถึงกำไรที่ทำได้จากบริษัทที่เราไปลงทุนด้วยตามสัดส่วนของการลงทุน
  • Consolidation - แสดงให้เห็นความมีอิทธิพลและความมีอำนาจในการควบคุมบริษัทที่เราไปลงทุน ดังนั้นจึงมองว่าทั้งสองบริษัทเสมือนเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งที่ในทางกฎหมายนั้นอาจจะแยกกันก็ตาม แต่รายงานทางการเงินนั้นต้องแสดงรวมกันทุกรายการ(บรรทัดต่อบรรทัด)

สรุปหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแนวทางปฏิบัติ

น้อยกว่า 20%        ใช้มาตรฐาน 40 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

20-50 %                 ใช้มาตรฐาน 45 (ปรับปรุง2550) เงินลงทุนในบริษัทร่วม

มากกว่า 50%        ใช้มาตรฐาน 44 (ปรับปรุง2550) งบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการ

มาตรฐาน 40 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

เทียบเคียงกับ SFAS 115 (1993) ซึ่งแบ่งประเภทของออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่                        

ประเภทของหลักทรัพย์

มูลค่าที่บันทึก

งบกำไรขาดทุน (จะรับรู้)

1. ถือจนกว่าจะครบกำหนด

ราคาทุน

- ดอกเบี้ย

- กำไรขาดทุนที่เกิดจากการขายจริง       

2. หลักทรัพย์เผื่อขาย

ราคาตลาด

- เงินปันผล, ดอกเบี้ย

- กำไรขาดทุนที่เกิดจากการขายจริง

3. หลักทรัพย์เพื่อค้า

ราคาตลาด

- เงินปันผล, ดอกเบี้ย

- กำไรขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง

   และเกิดขึ้นจริง

มาตรฐานบัญชี # 40 (ร่างปรับปรุงปี 2547)

ส่วนปรับปรุง

  • แก้ไขคำนิยาม ของหลักทรัพย์เพื่อค้า เผื่อขาย และตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด
  • กำหนดให้กิจการที่ขายตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดหรือจัดประเภทรายการใหม่ ในจำนวนที่มีนัยสำคัญ (เมื่อเทียบกับที่มีอยู่) กิจการต้องไม่จัดตราสารหนี้ใดทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและอนาคต เป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด ในรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบัน และภายใน 2 รอบระยะเวลาถัดไป เช่น ถือเป็นเผื่อขายแล้วจะมาบอกว่าเป็นเพื่อค้า จะถูกลงโทษตามที่กล่าว นี้เป็นมาตรฐานแบบใหม่ซึ่งมีมาตรการที่จะไม่ให้ขยับเขยื้อนได้ง่ายๆอะไรเว้นแต่จะมีเหตุผลที่เพียงพอ
  • แก้ไขเรื่องการด้อยค่าให้ชัดเจนขึ้น
  • กำหนดวิธีการบันทึกบัญชี ในการโอนเปลี่ยนประเภท ให้ชัดเจนและครบถ้วนขึ้น

การวิเคราะห์หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด

เราควรแยกผลของการดำเนินงานออกจากผลจากการลงทุน ด้วยเหตุผลดังนี้

  • ผลของการดำเนินงานและผลจากการลงทุนสามารถแยกได้อย่างชัดเจน
  • ให้ความสำคัญกับผลการดำเนินงานจากธุรกิจหลักของกิจการมากกว่าผลจากการลงทุน

ตัวอย่าง

Exhibit 13-2 Helmerich & Payne

1996                        1997                        1998

กำไรรวมผลจากการลงทุน                                                  

การเปลี่ยนแปลง                                                                  

-                               57.8                        24.8

เปอร์เซ็นต์                                                                          

-                               83 %                        19.5 %

กำไรไม่รวมผลจากการลงทุน

การเปลี่ยนแปลง                                                                  

-                               52.2                        (8.4)

เปอร์เซ็นต์                                                                             

-                               81.8 %                     (7.2 %)

การแยกผลการดำเนินงานจากการลงทุนออกจากการดำเนินงานปกติจะช่วยในการวิเคราะห์

  • ประสิทธิภาพในการดำเนินงานเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • สามารถนำผลตอบแทนจากการลงทุนไปเปรียบเทียบกับผลตอบแทนแบบ Benchmark

ผลกระทบจากการจัดประเภทหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด

ผลกระทบด้านการจัดประเภทต่อการรายงาน

  • ตัวที่เรายังไม่รับรู้ในการเปลี่ยนแปลง มันก็จะไม่กระทบต่อรายงานกำไร เช่น หลักทรัพย์เผื่อขาย และ ตราสารที่จะถือจนครบกำหนด ซึ่งกำไรขาดทุนจะไปปรากฏอยู่ในงบดุล
  • ในทางกลับกัน หลักทรัพย์เพื่อค้า จะรายงานในงบกำไรขาดทุน
  • เป็นไปได้ว่า ผู้บริหารจะบิดเบือนและตกแต่งกำไรโดยการจัดประเภทหลักทรัพย์ใหม่ ซึ่งปัจจุบันทำได้ยาก
  • การพิจารณาถึงกรณีที่เรายังไม่รับรู้กำไรจากหลักทรัพย์เผื่อขาย (AFS)
  • การจัดประเภทหลักทรัพย์ใหม่ จะทำให้เกิดกำไรในงบกำไรขาดทุน

การบัญชีของ Equity Method    มีเงื่อนไขในการใช้ดังนี้

  • Equity Method จะใช้เมื่อผู้ลงทุนมีอิทธิพลต่อการจัดการ, การดำเนินงาน, การลงทุน และการตัดสินใจทางด้านการเงินของผู้ถูกลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ
  • ผู้ลงทุนต้องรายงานสินทรัพย์สุทธิตามสัดส่วนการลงทุน และรับรู้รายได้ตามสัดส่วนของการลงทุน

มาตรฐานบัญชี 45 เงินลงทุนในบริษัทร่วม (ปรับปรุง 2550)

ส่วนปรับปรุง

  • ปรับปรุงให้สอดคล้องกับ IAS 28
  • ปรับปรุงในเรื่องที่สำคัญดังนี้
  1. ชื่อมาตรฐาน “เงินลงทุนในบริษัทร่วม”
  2. ขอบเขตของมาตรฐาน

- มาตรฐานฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ยกเว้นเงินลงทุนในบริษัทร่วมซึ่งถือโดย

  • กิจการร่วมลงทุน
  • กองทุนรวม หน่วยลงทุน รวมทั้งกองทุนประกันภัยซึ่งมีลักษณะของเงินลงทุน
  1. ข้อยกเว้นในการนำวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ

- ผู้ลงทุน ต้องบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วม โดยใช้วิธีส่วนได้เสียในทุกกรณี (ข้อยกเว้นอ่านในชีทเองนะคะ.)

  1. งบการเงินเฉพาะกิจการ (กรณีที่เสนอร่วมกับงบการเงินรวม)

- ผู้ลงทุน ต้องบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วม ในงบการเงินเฉพาะกิจการของผู้ลงทุน ตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 ซึ่งให้บันทึกด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  • ราคาทุน หรือ
  • วิธีการบัญชีตามที่กำหนดในมาตรฐานบัญชี เรื่องการรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (IAS39)

การบัญชีและการวิเคราะห์ตามวิธีส่วนได้เสีย

  • ถ้าหุ้นของบริษัทที่เราไปลงทุน มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ และการเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะไม่ถูกบันทึกจนกว่าจะเกิดการด้อยค่าอย่างถาวร
  • สำหรับนักวิเคราะห์ทางการเงิน ควรจะพิจารณาตัวชี้วัดมูลค่าที่ดีกว่าจำนวนที่รายงานอยู่ในงบการเงิน ( ราคาตลาดควรนำมาใช้เพื่อสะท้อนมูลค่าในการวิเคราะห์)
  • ถ้าบริษัทที่ลงทุนไม่มีอิทธิพลในการเข้าถึงกำไรหรือเรื่องอื่นๆในบริษัทผู้ถูกลงทุน แม้ว่าจะถือหุ้นมากแค่ไหนก็ให้ปฏิบัติเสมือนเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ)
  • ถ้าไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะถือหุ้นมากแค่ไหนก็ให้ใช้ราคาตลาด (โดยหันกลับไปใช้มาตรฐาน 40 )

มาตรฐานบัญชี44 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ (ปรับปรุง 2550)

ส่วนปรับปรุง

  • ปรับปรุงให้สอดคล้องกับ IAS 27
  • ปรับปรุงในเรื่องที่สำคัญ ดังนี้
  1. ชื่อมาตรฐาน “งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ”
  2. ขอบเขตของมาตรฐาน
  • มาตรฐานฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติสำหรับกลุ่มกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทใหญ่
  1. ข้อยกเว้นในการทำงบการเงินรวม บริษัทใหญ่จะไม่นำเสนองบการเงินรวมได้ ต้องเป็นไปตามลักษณะที่กำหนดทุกข้อต่อไปนี้
  • บริษัทใหญ่มีฐานะเป็นบริษัทย่อยของกิจการอื่น
  • ตราสารทุน หรือตราสารหนี้ ไม่มีการซื้อขายในตลาดสาธารณะ
  • บริษัทใหญ่ไม่ได้อยู่ระหว่างการนำส่งงบการเงินให้ กลต. เพื่อวัตถุประสงค์ในการขายหลักทรัพย์ในตลาดสาธารณะ
  • บริษัทใหญ่ในลำดับสูงสุด ได้จัดทำงบการเงินรวม เผยแพร่เพื่อประโยชน์ของสาธารณชน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานบัญชีที่รับรองทั่งไปแล้ว
  1. งบการเงินเฉพาะกิจการ
  • เมื่อจัดทำงบการเงินเฉพาะกิจการ เงินลงทุนในบริษัทย่อย หรือ เงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือเงินลงทุนในบริษัทร่วม ที่ไม่ได้จัดประเภทเป็นเงินลงทุนถือไว้เพื่อขาย ตามมาตรฐานการบัญชีเรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก ให้บันทึกบัญชีด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
  • ราคาทุน หรือ
  • วิธีการบัญชีตามที่กำหนดในมาตรฐานบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 26/2549

  • ให้ปรับปรุงย้อนหลัง (ถ้ากระทำได้)

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 6/2550

  • ประเภทของงบการเงิน มี 3 ประเภท
  1. งบการเงินรวม
  2. งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย หมายถึง งบการเงินที่นำเสนอโดยบริษัทใหญ่ซึ่งบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม ตามวิธีส่วนได้เสีย
  3. งบการเงินเฉพาะกิจการ

สรุปแนวทางการจัดทำงบการเงิน

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

งบการเงินของกิจการ

มีบริษัทย่อยเท่านั้น

/

/

มีบริษัทย่อยและบริษัทร่วม

/ ละใช้ Equityสำหรับบริษัทร่วม

/

มีบริษัทร่วมเท่านั้น

/

/

การเปรียบเทียบระหว่าง Consolidation กับ Equity

  • ในงบการเงินรวม ต้องแสดงหมายเหตุในทุกๆรายการที่เป็นผลมาจากการลงทุน
  • Consolidation จะรวมทุกรายการของบริษัทผู้ถูกลงทุนในงบแบบบรรทัดต่อบรรทัด ส่วน Equity จะเอาสินทรัพย์และหนี้สินที่ Net กันแล้วมาแสดงแค่บรรทัดเดียวตามสัดส่วนเงินลงทุน
  •  ในกรณีที่ มีการรวมกันหลายๆส่วนงาน จำเป็นต้องมีรายการจำแนกตามส่วนงาน เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์

อย่างไรก็ดี วิธีส่วนได้เสีย สามารถบิดเบือนงบการเงินได้ ดังนี้

  1. การวัดผลกำไร แม้ว่ากำไรสุทธิของบริษัทย่อยจะเข้าไปรวมกำไรของบริษัทแม่ก็ตาม สินทรัพย์ที่จะทำให้เกิดรายได้ไม่ได้รวมอยู่ด้วย ซึ่งจะทำให้บริษัทแม่ มี ROA , ROS ที่สูงเกินไปรวมถึง ความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ยก็สูงเกินไปด้วย
  2. การวัดความสามารถในการชำระหนี้
  • หนี้สินจะถูกซ่อนไว้ในบริษัทผู้ถูกลงทุน
  • สินทรัพย์ที่มารวมเป็นก้อน ไม่รู้ว่าเป็นอะไร เป็นสินทรัพย์มีตัวตน หรือไม่มีตัวตน
  1. การขาดข้อมูลโดยเกิดจากยอดรวมของผู้ลงทุน จะไม่รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกลงทุน เช่น การเช่าซื้อ derivativesและ debt covenants

บทความโดย : http://xn--12cfjb4gd5dd4a6b2cxaftl4pk4s.blogspot.com

 3859
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์