ประเภทเงินลงทุน

ประเภทเงินลงทุน

1.  แบ่งตามระยะเวลาของการลงทุน ได้แก่

                 1.1 เงินลงทุนชั่วคราว หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้ไม่เกิน ปี เงินลงทุนชั่วคราวรวมถึง หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป และตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดภายใน ปี

                  1.2 เงินลงทุนระยะยาว หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้เกิน ปี เงินลงทุนระยะยาวรวมถึง ตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายเงินลงทุนทั่วไป ตราสารหนี้ที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายและตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด

2.  แบ่งตามสถานภาพของผู้ถือหลักทรัพย์ต่อกิจการ

                   2.1 ตราสารทุน หมายถึง สัญญาที่แสดงว่าผู้ถือตราสารมีความเป็นเจ้าของในส่วน ได้เสียคงเหลือของกิจการที่ไปลงทุนได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ

                   2.2 ตราสารหนี้ หมายถึง สัญญาที่แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกผันทั้งทางตรง และทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นให้แก่ผู้ถือตราสารตามจำนวนและเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยายได้แก่ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล

3.  แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการถือหลักทรัพย์

                   3.1 หลักทรัพย์เพื่อค้า หมายถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่กิจการถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะขายในอนาคตอันใกล้ ทำให้กิจการถือหลักทรัพย์นั้นไว้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อหากำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ ดังนั้น หลักทรัพย์เพื่อค้าจึงมีอัตราการหมุนเวียนสูง

                   3.2 หลักทรัพย์เผื่อขาย หมายถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดซึ่งไม่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าและในขณะเดียวกันไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดหรือเงินลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม หลักทรัพย์เผื่อขายสามารถแยกประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาว

                     3.3 เงินลงทุนทั่วไป หมายถึง เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดทำให้กิจการไม่สามารถจัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าหรือหลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไปสามารถแยกประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาว

                      3.4  ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด หมายถึง เงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ที่กิจการมีความตั้งใจแน่วแน่และมีความสามารถที่จะถือไว้จนครบกำหนดไถ่ถอน

นอกจากนี้ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 ได้กำหนดให้กิจการต้องปฏิบัติเมื่อได้มาซึ่งเงินลงทุน

1.  จัดประเภทตราสารหนี้และตราสารทุนในความต้องการของตลาดดังนี้

                       1.1  หลักทรัพย์เพื่อค้า

                       1.2  หลักทรัพย์เผื่อขาย

                       1.3  ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด

2.  จัดประเภทตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดเป็นเงินลงทุนทั่วไป

บทความโดย  :  https://sites.google.com

 47121
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์