ยุคไทย 4.0 ต้องเข้าใจเงินดิจิทัล Bitcoin (บิทคอยน์) เงินสกุลใหม่บนโลกออนไลน์

ยุคไทย 4.0 ต้องเข้าใจเงินดิจิทัล Bitcoin (บิทคอยน์) เงินสกุลใหม่บนโลกออนไลน์

ปัจจุบันเราอยู่ในโลกยุคดิจิทัลที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้คนในยุคปัจจุบันจึงไม่ควรหยุดนิ่งอยู่กับที่ ทุกคนควรหมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลาเพื่อก้าวตามให้ทันโลกที่หมุนเร็วขึ้นทุกวัน และเพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ขึ้นในชีวิตประจำวัน อีกทั้งเพื่อความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต ในด้านการเงินนั้น ปัจจุบันก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นตลอดเวลาเช่นกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการจ่ายเงินและการรับชำระเงิน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของเงินในรูปแบบออนไลน์ที่เรียกว่า Bitcoin (บิทคอยน์) ซึ่งในขณะนี้สามารถนำมาใช้ได้จริงและมีระบบการชำระเงินรองรับอีกด้วย วันนี้ เราจะพาทุกคนมารู้จักกับเงินออนไลน์ประเภทนี้กันว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง

Bitcoin (บิทคอยน์) เป็นเงินตราในรูปแบบดิจิทัลที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งใช้นามแฝงว่า “ซาโตชิ ซากาโมโตะ” แต่สำหรับชื่อจริงนั้นไม่ถูกเปิดเผยจึงทำให้ไม่ทราบตัวตนที่แน่ชัด มีการเริ่มต้นใช้งานเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2009 มีชื่อย่อของสกุลเงินคือ “BTC” เป็นเงินตราในรูปแบบที่เรียกว่า “Cryptocurrency” ที่ต้องใช้การเข้ารหัสในการควบคุมการสร้างและโอนเงิน ตัวเงินตราบิทคอยน์นั้นสามารถสร้างขึ้นใหม่ด้วยการ “ไมน์นิ่ง” (Mining) ซึ่งค่าธรรมเนียมในการชำระเงินต่ำกว่าการชำระผ่านระบบธนาคาร มีค่าธรรมเนียมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ เป็นภาษาไทยว่าการขุดเหมือง ซึ่งเป็นกระบวนการตรวจสอบยืนยันและบันทึกการชำระเงิน

หลักการมีอยู่ว่า เมื่อมีธุรกรรมการโอนเงินเกิดขึ้น ธุรกรรมนั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบและยืนยันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย มีระบบการบันทึกการชำระเงินที่เรียกว่า ระบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer to peer) โดยในที่นี้จะขออธิบายคำว่า “เพียร์ทูเพียร์” ไว้เพื่อเข้าใจในระบบการเงินของบิทคอยน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้คือวิธีการจัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายจะร่วมกันเก็บไฟล์ข้อมูลที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการบันทึกและรวบรวมข้อมูลการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นศูนย์กลางการจัดการข้อมูล ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกัน และไม่มีเครื่องไหนที่ทำหน้าที่เป็นแอดมิน

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ Bitcoin เป็นระบบเงินตราที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เนื่องจากมีการตรวจสอบกันเองระหว่างสมาชิกในเครือข่าย ซึ่งอาศัยระบบเพียร์ทูเพียร์ตามที่อธิบายไว้ข้างต้นนั่นเอง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบนั้นจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินบิทคอยน์จำนวนเล็กน้อย ด้วยหลักการดังกล่าวจึงทำให้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่ไม่ขึ้นกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ในระยะแรกนั้นบิทคอยน์จะรู้จักกันอยู่เฉพาะในวงการการเงินหรือวงการแลกเปลี่ยนเงินตราเท่านั้น แต่ต่อมาในภายหลังได้กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นของคนทั่วไปว่ามันคือสกุลเงินออนไลน์ และด้วยลักษณะเฉพาะตัวหลายประการจึงทำให้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่แตกต่างจากสกุลเงินทั่วไปจนได้รับความสนใจจากคนจำนวนหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อกังขาที่เกิดขึ้นจากทั้งภาครัฐและประชาชน ส่วนมากมักมีความรู้สึกไม่เชื่อมั่นในเสถียรภาพของเงินตราในรูปแบบดิจิทัลประเภทนี้ เนื่องจากไม่มีหน่วยงานรัฐบาลใดให้การรับรอง อีกทั้งไม่มีอัตราการสำรองทองคำไว้เป็นหลักประกันของสกุลเงินเหมือนกับสกุลเงินทั่วไปของประเทศต่าง ๆ

Bitcoin

ทั้งนี้ในปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลที่มีอำนาจควบคุมเรื่องการเงินภายในประเทศยังไม่อนุญาตให้บิทคอยน์เป็นตัวแทนซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายในอาณาเขตประเทศไทย และไม่ให้การรับรองเงินตราประเภทนี้ เนื่องจากมีความกังวลเรื่องการฟอกเงินซึ่งอาจนำเงินบิทคอยน์มาใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงินที่ได้มาจากการดำเนินธุรกิจที่ผิดกฎหมาย และเพื่อเป็นการป้องกันการฉ้อโกงประชาชนจากมีกลุ่มมิจฉาชีพซึ่งอาจใช้บิทคอยน์เป็นเครื่องมือเข้ามาแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

สำหรับต่างประเทศก็มีบริษัทต่าง ๆ ในหลายประเทศที่ยอมรับการชำระเงินด้วยบิทคอยน์ อย่างเช่นประเทศสเปนที่รัฐบาลพยายามให้ความเข้าใจและสนับสนุนการใช้งานตามสมควรโดยมีประกาศยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับบิทคอยน์ หรือหน่วยงานสภากาชาดของประเทศสหรัฐอเมริกาที่รับบริจาคเงินในรูปแบบนี้ และองค์กรการกุศลในประเทศเนปาลที่ใช้ชื่อว่า See Change Foundation ก็เปิดรับการบริจาคเงินด้วยบิทคอยน์เช่นเดียวกัน รวมไปถึงเว็บไซต์ E-Commerce หลายแห่งที่รับชำระเงินด้วยบิทคอยน์ อีกทั้งยังมีประเทศที่เป็นเกาะอีกหลายแห่งที่รับการชำระเงินด้วยบิทคอยน์ซึ่งประเทศเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่ขึ้นชื่อในเรื่องการเป็นสถานที่ฟอกเงินชั้นดีของโลก

จะเห็นได้ว่า เงินในรูปแบบออนไลน์อย่างบิทคอยน์นั้นมีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว สุดท้ายนี้เราจึงขอนำสิ่งที่น่าสนใจสำหรับ Bitcoin มาสรุปเป็น 4 ข้อ ดังนี้

  1. เป็นระบบเงินออนไลน์ในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินจริงได้
  2. เป็นสกุลเงินที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องการเมือง เนื่องจากไม่มีประเทศใดเป็นเจ้าของค่าเงิน
  3. มีค่าธรรมเนียมในการชำระเงินต่ำกว่าการชำระผ่านระบบธนาคาร ซึ่งมีค่าธรรมเนียมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อรายการ ขึ้นอยู่กับเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ
  4. เป็นระบบการเงินรูปแบบหนึ่งซึ่งมีแนวโน้มว่าจะได้รับการยอมรับมากขึ้นในอนาคต

บทความโดย : https://wealthcare.krungthai-axa.co.th

 1725
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์