ข้อมูลเชิงคุณภาพของรายงานทางการเงิน ความท้าทายของนักบัญชี

ข้อมูลเชิงคุณภาพของรายงานทางการเงิน ความท้าทายของนักบัญชี

ผู้บริหารและนักบัญชีมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการนำเสนอรายงาน
ทางการเงินที่สะท้อนถึงฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และ
การเปิดเผยข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำไปใช้ใน
การตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ในช่วงหลายทศวรรษ
ที่ผ่านมา มาตรฐานการรายงายงานทางการเงินได้พัฒนาอย่างก้าว
กระโดด เพื่อตอบสนองต่อวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ โมเดลทาง
ธุรกิจรวมถึงเครื่องมือทางการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก
โดยปัจจุบันมาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้กิจการเปิดเผย
ข้อมูลในหลายๆ มิติ เช่น นโยบายการบัญชีที่เลือกใช้โดยกิจการ
การประมาณการทางบัญชี การเปิดเผยรายการทางการค้าระหว่างกิจการ
ที่เกี่ยวข้องกัน การเปิดเผยข้อมูลเรื่องเครื่องมือทางการเงิน มูลค่า
ยุติธรรมของสินทรัพย์ และหนี้สิน การเปิดเผยข้อมูลหนี้สินผลประโยชน์
พนักงานรวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้รายงานทางการเงินสามารถ
วิเคราะห์ผลประกอบการในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้
ผู้ใช้งบการเงินสามารถวัดมูลค่าของกิจการ รวมถึงการคาดการณ์ผลการ
ดำเนินงาน กระแสเงินสดของกิจการในอนาคต เพื่อใช้เป็นข้อมูลเพื่อ
การตัดสินใจทางเศรษฐกิจ เช่น การตัดสินใจลงทุนในตราสารทุน ตราสาร
ทางการเงิน รวมถึงการให้สินเชื่อแก่กิจการ
อย่างไรก็ดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีคำถามสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ
รายงานทางการเงินไม่ว่าจะเป็นผู้จัดทำรายงานทางการเงิน ผู้บริหาร
ผู้ใช้งบการเงิน ผู้กำหนดมาตรฐาน ผู้สอบบัญชี และฝ่ายกำกับดูแลภาค
รัฐ ว่ารายงานทางการเงินปัจจุบันได้ให้ข้อมูลที่กระชับรัดกุมไม่เยิ่นเย้อ
เป็นประโยชน์ เพียงพอหรือไม่ เนื่องจากมีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่ายว่า
รายงานทางการเงินในปัจจุบันมีปริมาณจำนวนหน้าที่หนามาก
มีข้อมูลปริมาณมากเกินความจำเป็น (Information Overload) จนเกิด
คำถามว่าอะไรคือเป้าหมายหลักที่ทุกฝ่ายต้องการบรรลุเพื่อให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ใช้งบการเงิน ในหลายกรณีจะเห็นว่าหมายเหตุ
ประกอบงบการเงินมีลักษณะเป็น Boilerplate Text คือทุกบริษัท
มีนโยบายการบัญชีที่คล้ายกันในขณะที่เนื้อหาทางธุรกิจมีความแตกต่าง
กัน อย่างชัดเจน นอกจากนี้ข้อมูลบางอย่างที่ไม่เป็นปัจจุบันยังคงค้างใน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน ทั้งที่ประเด็นดังกล่าวเสร็จสิ้นไปแล้วจน
กลายเป็นข้อมูลขยะ (Stale Information) รวมถึงข้อมูลที่ส�ำคัญ
บางรายการ เช่นสมมติฐานทางบัญชีในการประเมิณมูลค่ายุติธรรมของ
สินทรัพย์ โดยใช้วิธีคิดลดกระแสเงินสดกลับไม่ได้ถูกเปิดเผยเพียงพอ
เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินทราบถึงข้อมูลเชิงคุณภาพว่าหาก
สมมติฐานเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบที่มีต่อฐานะ
ทางการเงินของกิจการจะเปลี่ยนไปในทางใดเท่าไหร่
เป็นต้น
ข้อมูลเชิงคุณภาพของรายงานทางการเงินถือเป็น Hot Issues
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งในฟากยุโรป และ อเมริกา โดยฝ่ายก�ำกับ
ดูแล ผู้ก�ำหนดมาตรฐาน ผู้สอบบัญชี และกิจการต่างๆ ได้มีการตั้งคณะ
ท�ำงานศึกษาเรื่องนี้โดยตรง และผลการศึกษาก็ออกมาในทิศทาง
เดียวกันว่ารายงานทางการเงินของกิจการควรได้รับการปรับปรุงโดย
เน้นเรื่องข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative information) ความเกี่ยวข้อง
ในการตัดสินใจ (Relevance) ความมีสาระส�ำคัญ (Materiality)
โดยค�ำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้ใช้งบการเงินจะได้รับเป็นหลัก (Perspectives
from Users) สิ่งที่ผมอยากจะเรียนแนะน�ำก็คือ ฝ่ายจัดการของบริษัท
ควรจะตั้งคณะท�ำงานเพื่อสอบทานข้อมูลของงบการเงินในปัจจุบันของ
บริษัท ตัดทอนข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือข้อมูลเก่าที่ไม่เป็นปัจจุบันออก
จากงบการเงิน ปรับปรุงนโยบายการบัญชีให้สอดคล้องกับธุรกิจของ
บริษัท เพิ่มข้อมูลเชิงคุณภาพในงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐาน
การบัญชี โดยค�ำนึงถึงความมีสาระส�ำคัญและประโยชน์ที่ผู้ใช้งบ
การเงินจะได้รับ ทั้งนี้ผู้ใช้งบการเงินอยากจะเห็นงบการเงินที่มีความ
กระชับตรงประเด็น และให้ข้อมูลที่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และ
ไม่ได้ให้แค่ข้อมูล (Data) แต่ให้ข้อมูลเชิงลึก (Insights) เพื่อประโยชน์
ในการตัดสินใจ และในเมื่อท่านสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับ
ผู้ใช้งบการเงินได้มากกว่าบริษัทอื่นในตลาด ท่านก็จะมีความได้เปรียบ
หลายคนมีความเห็นว่าบริษัทควรจะเปิดเผยข้อมูลน้อยๆ เพื่อไม่ให้เสีย
เปรียบคู่แข่ง ผมว่าอันนี้เป็นแนวคิดที่ไม่ทันสมัย ปัจจุบันตลาดทุนมีการ
เชื่อมต่อเป็นGlobalization ใครสามารถเข้าถึงตลาดทุนได้มากกว่าก็
จะมีความได้เปรียบเพราะมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต�่ำกว่า
ดังนั้นถ้างบการเงินของท่านยังเยิ่นเย้อ ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่มีข้อมูลที่เป็น
ประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน มูลค่าของกิจการก็จะถูกลดทอนจากปัจจัย
เหล่านี้ ความสามารถในการเข้าถึงตลาดทุนของท่านก็จะถูกลดทอน
ลง ถึงเวลาฝ่ายจัดการจะต้องให้ความส�ำคัญต่อการรายงานทางการเงิน
และปรับปรุงข้อมูลที่เปิดเผยโดยเน้นประโยชน์ที่มี
ต่อผู้ใช้งบการเงิน

บทความโดย : http://www.fap.or.th

 4184
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์