ประวัติบิดาของการบัญชี

ประวัติบิดาของการบัญชี

ระวัติความเป็นมาของการบัญชี

            ในปี ค.ศ.1494 ลูกา ปาซิโอลิ (Luca Pacioliชาวอิตาเลียน ได้เขียนหนังสือเชิงคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ชื่อ “Summa de arithmetca geometrica proportioni et proportionalita” เป็นตำราว่าด้วยการคำนวณเกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต การแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งการบัญชี ซึ่งเขาได้รวบรวมกฎเกณฑ์ต่างๆของหลักการบัญชีคู่ไว้อย่างสมบูรณ์ โดยกำหนดศัพท์ที่มาของคำว่า “Dedito” หมายถึง เป็นหนึ่ง และ “Credito” หมายถึง เชื่อถือ อันเป็นพื้นฐานที่มาของคำว่า “Dedit” และ “Credit” ตามหลักการบัญชีคู่ซึ่งเป็นที่ยอมรับถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

ลูกา ปาซิโอลิ ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งการบัญชี

            สำหรับประเทศไทย การบัญชีเริ่มต้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เมื่อวันที่24มิถุนายน พ.ศ.2475) โดยผู้ที่เผยแพร่ความรู้ทางด้านการบัญชีในระยะแรกคือ พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) และหลวงดำริ อิศรานุวรรต (ม.ร.ดำริ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ได้จัดทำหลักสูตรการสอนวิชาการบัญชีเพื่อเผยแพร่ทำให้คนไทยมีความรู้ทางด้านการบัญชีโดยศัพท์ทางบัญชีจะเป็นลักษณะเฉพาะมากขึ้นเช่น สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ รายจ่าย ค่าใช้จ่ายและกำไรขาดทุน เป็นต้น

            การบัญชีในประเทศไทย เริ่มมีตั้งแต่สมัยอยุธยาในช่วงปี พ.ศ.2193-2231 ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บัญชีที่ถูกจัดทำขึ้นเป็นบัญชีแรกคือ บัญชีเงินสดและได้ถือปฏิบัติมาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับสมัยรัชกาลที่5 ได้เริ่มจัดทำบัญชีพระคลังเป็นหมวดหมู่ และวิชาการบัญชีก็ได้เริ่มมีการศึกษากันขึ้น ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่1 ตรงกับสมัยรัชกาลที่6 พระองค์ทรงโปรดคัดเลือกบุตรข้าราชการส่งไปเรียนด้านพาณิชย์  และบัญชีที่ประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นยังโปรดให้ตั้งโรงเรียนพาณิชยการขึ้น2แห่งคือ โรงเรียนพาณิชยการวัดสามพระยา และโรงเรียนพาณิชยการวัดแก้วฟ้า โดยมีการสอนบัญชีคู่เป็นครั้งแรกในโรงเรียนดังกล่าวและมีบัญชีเพียง3เล่ม คือ สมุดบัญชีเงินสด สมุดรายวันและสมุดแยกประเภท ในปีพ.ศ.2481ได้จัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในปีพ.ศ.2482 รัฐบาลได้ออกกฎหมายพระราชบัญญัติบัญชีขึ้น ซึ่งมีจุดหมายหลัก3ประการคือ

            1.เพื่อให้การจัดทำบัญชีของธุรกิจต่างๆมีแนวทางแบบเดียวกัน

            2.เพื่อคุ้มครองประโยชน์และส่วนได้ส่วนเสียของผู้เกี่ยวข้อง

            3.เพื่ออำนวยความสะดวกและเกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี

 20659
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์