การทำบัญชี SMEs กับเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงิน สำหรับเจ้าของกิจการ

การทำบัญชี SMEs กับเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงิน สำหรับเจ้าของกิจการ





ในปัจจุบัน ในเรื่องการปล่อยสินเชื่อธนาคาร หรือ การปล่อยสินเชื่อของธุรกิจให้กับลูกค้าแต่ละราย จะพบว่า ถ้าเป็นธนาคาร จะขอดูงบการเงินฉบับที่เสียภาษี หรือแม้แต่ธุรกิจบางแห่งจะให้สินเชื่อ โดยจะปล่อยเครดิตให้ลูกค้า ก็จะขอดูงบการเงินฉบับที่ยื่นเสียภาษีประจำปีเช่นกัน ดังนั้นท่านในฐานะผู้บริหาร เมื่อมีการทำบัญชี และจะปิดบัญชีประจำปี ควรมีหลักและเทคนิคในการวิเคราะห์งบการเงิน ของกิจการของท่านดังนี้

1.การวิเคราะห์แบบแนวนอน (Horizontal Analysis) เป็นการวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบปีต่อปี หรือ เดือนต่อเดือน ซึ่งจะบอกถึง

         1.1 การเปลี่ยนแปลงของรายการต่างๆในงบโดยเปรียบเทียบเป็นปีต่อปี หรือเดือนต่อเดือน

         1.2 ทำให้ทราบว่ามีรายการใดเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นจำนวนเงินและเปอร์เซ็นต์รายการละเท่าใด

         1.3 สามารถหรือคาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มแต่ละรายการในงบว่ารายใดดีขึ้นหรือแย่ลง

         1.4 จากข้อมูลทั้งหมดจะทำให้ท่านสามารถคาดการณ์ธุรกิจของท่านในอนาคตได้

2.การวิเคราะห์แบบแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (Vertical analysis) การวิเคราะห์จะจะนำงบการเงินมาเปรียบเทียบปีต่อปี

         2.1 ในส่วนงบกำไรขาดทุน เช่นต้นทุนขายหรือบริการ  ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน จำนวน เท่าใด ในปีหนึ่งปีใดเปรียบเทียบกับร้อยละ ของยอดขายปี ซึ่งจะทำให้ทราบว่า ต้นทุนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ต่อยอดขาย หรือค่าใช้จ่ายบริหารรายการใดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อยอดขาย

         2.2 หากพบว่ามีรายการค่าใช้จ่ายใดที่สูงกว่าปีก่อน ก็จะหาวิธีการเพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ทันท่วงที

3.การวิเคราะห์แบบแนวโน้ม (Trend analysis)เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปี ของรายการต่างในงบกำไรขาดทุน หรืองบแสดงฐานะการเงิน เช่น

         3.1 ใช้ดูแนวโน้มของกิจการว่ายอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่ายบริหาร ดีขึ้นหรือแย่ลงจากปีก่อน  เป็นต้น

         3.2 เพื่อนำนำข้อมูลไปใช้ในการพยากรณ์ในอนาคต หรือการทำประมารการของกิจการต่อไป

4.การวิเคราะห์แบบอัตราส่วนทางการเงิน (Financial ratio analysis) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในงบการเงินเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างรายการหนึ่งกับรายการหนึ่ง ว่าเหมาะสมเพียงใด อัตราส่วนทางการเงินแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

         4.1 อัตราส่วนวัดสภาพคล่องทางการเงิน

         4.2 อัตราส่วนในการวัดความสามารถในการทำ

         4.3 อัตราส่วนในการวัดความสามารถ(ประสิทธิภาพ)ในการดำเนินงาน

         4.4 การวิเคราะห์โครงสร้างเงินทุนหรือภาระหนี้สิน

ดังนั้นเมื่อท่านได้ทำตามขั้นตอนต่างๆ แล้วอย่างชำนาญ และใช้อย่างต่อเนื่องธุรกิจของท่านจะลดความเสี่ยงต่าง เพราะท่านได้ทราบแนวโน้มปัญหา และอุปสรรคล่วงหน้า และท่านได้มีเวลาปรับปรุงแก้ไขในปัยการนั้นๆแล้ว



ที่มา: บัญชีสยามออนไลน์

 1279
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์