คำถามที่พบบ่อย FAQs

เรายินดีช่วยเหลือคุณหาคำตอบเกี่ยวกับการใช้งาน myAccount Cloud

การกำหนด Option ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือ

การกำหนด Option ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือ

Q:
A:
  1. การกำหนดรูปแบบการคำนวณต้นทุนให้สินค้าแต่ละรายการ

ระบบ Setting > IC > สินค้า





จำเป็นต้องกำหนดรูปแบบการคิดต้นทุนให้กับสินค้าแต่ละรายการให้ถูกต้อง มี 2 รูปแบบ ดังนี้

  • Average (แบบถัวเฉลี่ย) คือการคิดต้นทุนแบบถัวเฉลี่ยตามจำนวนสินค้าคงเหลือ เหมาะกับธุรกิจซื้อมาขายไป ขายปลีก-ขายส่ง การคำนวณมีวิธีดังนี้ สำหรับวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ต้นทุนต่อหน่วยก็คือต้นทุนสินค้าสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย หารด้วยจำนวนหน่วยที่มีไว้เพื่อขาย ซึ่งจะคำนวณเมื่อสิ้นงวด

ตัวอย่างการคำนวณ

        วันที่ 1/1/25xx ซื้อสินค้า ก จำนวน 5 ชิ้น ราคาต่อหน่วย หน่วยละ 10 บาท รวม 50 บาท

        วันที่ 5/1/25xx เพิ่มสต็อกสินค้า ก จำนวน 5 ชิ้น ราคาต่อหน่วย หน่วยละ 15 บาท รวม 75 บาท

        ณ วันที่ 5/1/25xx มีสินค้าคงเหลือสุทธิ 10 ชิ้น

ระบบจะนำราคาต่อหน่วยของสินค้ามารวมกัน (5*10) + (5*15) = 125 บาท

แล้วหารเฉลี่ยจำนวนสินค้าคงเหลือสุทธิ 125/10 = 12.50 บาท

จะได้ต้นทุนสินค้าจริงแบบถัวเฉลี่ยคือ สินค้า ก 1 ชิ้น ราคาต่อหน่วย 12.50 บาท

 

  • FIFO (First –in, First-out แบบเข้าก่อนออกก่อน) คือการคิดต้นทุนสินค้าแบบเข้าสต็อกก่อนให้นำไปคิดต้นทุนการจ่ายออกสต็อกก่อนตามลำดับการเข้าออก ซึ่งมักจะใช้กับสินค้าที่มีอายุและตามสมัยนิยม ถ้าเก็บไว้นานจะล้าสมัย เสื่อมสภาพ และเน่าเสีย

ตัวอย่างการคำนวณ

        วันที่ 1/1/25xx ซื้อสินค้า ก จำนวน 5 ชิ้น ราคาต่อหน่วย หน่วยละ 10 บาท รวม 50 บาท

        วันที่ 5/1/25xx เพิ่มสต็อกสินค้า ก จำนวน 5 ชิ้น ราคาต่อหน่วย หน่วยละ 15 บาท รวม 75 บาท

        ณ วันที่ 5/1/25xx มีสินค้าคงเหลือสุทธิ 10 ชิ้น 5 ชิ้นแรกราคาต่อหน่วย 10 บาท 5 ชิ้นหลังราคาต่อหน่วย 15 บาท

หากมีการขายสินค้าหรือลดสินค้าออกจากสต็อก ระบบจะนำราคาต่อหน่วยของสินค้าที่เข้าก่อน ออกไปก่อน เช่น ขายสินค้าออกไป 6 ชิ้น จะเหลือสินค้าทั้งหมด 4 ชิ้น ราคาต่อหน่วย 15 บาท

เนื่องจาก 5 ชิ้นแรก ที่ซื้อเข้ามาราคาต่อหน่วย 10 บาท และอีก 1 ชิ้น ที่เพิ่มสต้อกเข้ามาราคาต่อหน่วย 15 บาท ฉะนั้น สินค้าที่เหลืออยู่อีก 4 ชิ้น จะมีราคาต่อหน่วยเท่ากับ 15 บาท

 

       2.การกำหนด Option การคำนวณต้นทุนต่างๆ ให้ระบบสินค้าคงคลัง

ระบบ Setting > IC > IC Option





      2.1 TAB Option (การกำหนด Option ทั่วไปของระบบสินค้าคงคลัง)

สิ่งที่จำเป็นต้องตรวจสอบและกำหนดให้ถูกต้องเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนสินค้าได้แก่

  • Costing : จำเป็นต้องกำหนดให้ถูกต้อง กรณีลูกค้ามีสินค้าหลายคลัง จะต้องกำหนดการคำนวณต้นทุนให้ถูกต้อง ว่าต้องการให้ระบบคำนวณต้นทุนแบบแยกคลังหรือรวมคลัง
  • การคำนวณต้นทุนลดหนี้ลูกหนี้ (Credit Note) : จำเป็นต้องกำหนด Option การคำนวณต้นทุนของการลดหนี้ลูกหนี้ทั้ง 2 กรณี ทั้งแบบอ้างอิงใบกำกับภาษีเดิม และแบบไม่อ้างอิงใบกำกับภาษีเดิม เพื่อให้ระบบคำนวณต้นทุนตามต้องการได้ ยกตัวอย่าง


การคำนวณต้นทุนเอกสารลดหนี้แบบ มีใบกำกับภาษีเดิม เลือกได้ดังนี้



การคำนวณต้นทุนเอกสารลดหนี้ แบบไม่มีใบกำกับภาษีเดิม เลือกได้ดังนี้



       - การคำนวณต้นทุนลดหนี้เจ้าหนี้ (Purchase Credit Note) : จำเป็นต้องกำหนด Option การคำนวณต้นทุนของการลดหนี้เจ้าหนี้ทั้ง 2 กรณี ทั้งแบบอ้างอิงใบกำกับภาษีเดิม และแบบไม่อ้างอิงใบกำกับภาษีเดิม เพื่อให้ระบบคำนวณต้นทุนตามต้องการได้ ยกตัวอย่าง


การคำนวณต้นทุนเอกสารลดหนี้แบบ มีใบกำกับภาษีเดิม เลือกได้ดังนี้



การคำนวณต้นทุนเอกสารลดหนี้ แบบไม่มีใบกำกับภาษีเดิม เลือกได้ดังนี้



หมายเหตุ

ต้นทุนตามการบันทึก คือ ต้นทุนสินค้าที่ระบุไว้ในเอกสารใบลดหนี้ลูกหนี้

-  ต้นทุนตามใบกำกับภาษีเดิม คือ ต้นทุนที่ระบุไว้ในราคาต่อหน่วยของสินค้าในเอกสารใบกำกับภาษีเดิมที่อ้างอิงมาทำรายการ

-  ต้นทุนตามราคาต้นทุนมาตรฐาน คือ ต้นทุนมาตรฐานที่กำหนดไว้ในรหัสสินค้าแต่ละรายการ (ข้อ 1)

-  ต้นทุนตามการคำนวณ คือ ต้นทุนตามที่ระบบคำนวณให้อัตโนมัติตามรูปแบบการคิดต้นทุนที่กำหนดไว้ในรหัสสินค้าแต่ละรายการ(ข้อ 1)

 

        -  การคำนวณต้นทุนการเพิ่มลดสินค้า : จำเป็นต้องกำหนดกรณีมีการใช้เมนูเพิ่มลดสินค้า เช่นการเริ่มต้นระบบใหม่มีสินค้าในสต็อกอยู่แล้ว ต้องการเพิ่มสินค้าเข้าระบบ หรือมีการโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง จะต้องกำหนดการคิดต้นทุนสินค้า สามารถเลือกให้ระบบ คำนวณต้นทุนตามลำดับแรกของวัน หรือคำนวณต้นทุนจากลำดับสุดท้ายของวันก็ได้ (ส่วนนี้จะใช้เฉพาะสินค้าที่คิดต้นทุนแบบ Average (แบบถัวเฉลี่ย) เท่านั้น ดังรูป




    2.2 TAB Option List (การกำหนด Option แยกตามเมนูต่างๆ) สามารถเลือกกำหนดเพิ่มเติมจาก Option ทั่วไปได้ตามเมนูที่ระบบมีให้ ดังรูป
  • Good Name คือ ชื่อสินค้า สามารถเลือกให้ระบบแสดงชื่อสินค้าตามชื่อ, ชื่อทางการตลาด หรือชื่อในการออกบิลที่กำหนดไว้ในค่าเริ่มต้นของรหัสสินค้าได้ (ข้อ 1)


  • Check Goods Qty. คือ การตรวจสอบจำนวนสต็อกสินค้าคงเหลือ สามารถกำหนดให้ระบบตรวจสอบตาม Option ที่กำหนดไว้ใน TAB Option (ค่าเริ่มต้น) หรือเลือกให้สินค้าติดลบไม่ได้ หรือสินค้าติดลบได้ หรือเลือกให้ระบบแสดงข้อความถามก่อนทำรายการได้



  • Check Inventory คือ การตรวจสอบจำนวนสต็อกสินค้าคงเหลือ สามารถกำหนดให้ระบบตรวจสอบแบบรวมคลังหรือแยกคลังสินค้าก็ได้




  • Check Qty. By คือ การตรวจสอบจำนวนสต็อกสินค้าคงเหลือ สามารถกำหนดให้ระบบตรวจสอบตาม TAB Option หรือยอดสินค้าคงเหลือสุทธิ หรือตรวจสอบจากยอด Sale Stock ได้



    2.3 TAB Cost Option (การกำหนด Option การคำนวณต้นทุนระบบ Inventory เพิ่มเติม) สามารถเลือกกำหนดจาก Option ทั่วไปได้โดยการกดปุ่ม + เพิ่มเมนูที่ระบบมีให้ตามต้องการได้ ดังรูป





สามารถเลือกเพิ่มประเภทเอกสารการเพิ่มลดสินค้าในสต็อกได้ตามที่ระบบมีให้ ดังนี้



สามารถเลือกระบุ Option การคำนวณต้นทุน ตามการบันทึกหรือให้คำนวณตามการคำนวณของระบบได้



สามารถกำหนด Option การแสดงราคาอัตโนมัติ ตามราคาต้นทุนมาตรฐาน หรือตามราคาต้นทุนล่าสุดได้



กรณีเป็นการโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง หากต้องการให้คำนวณต้นทุนระหว่างคลังด้วย ให้เลือก Option

การโอนย้ายระหว่างคลัง ดังรูป




หมายเหตุ : สินค้าที่มีการคิดต้นทุนแบบ FIFO จะคำนวณต้นทุนตามการคำนวณเท่านั้น



 382
ผู้เข้าชม

ติดต่อเรา

หากยังไม่พบคำตอบหรือมีข้อซักถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อทีมงานสนับสนุนได้ที่

 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์