การวิเคราะห์สินทรัพย์ระยะยาว

การวิเคราะห์สินทรัพย์ระยะยาว

การวิเคราะห์สินทรัพย์ระยะยาว

ต้นทุนของสินทรัพย์ประกอบด้วย
1. ราคาซื้อ(ตามใบ Invoices)
2. ภาษีขาย(Sale TAX)
3. ค่าขนย้ายกับค่าประกัน
4. ค่าติดตั้ง
ประเด็นโต้แย้งของหลักการในการรับรู้ต้นทุนของสิทรัพย์ระยะยาว
1. ต้นทุนบางอย่างที่เกิดจากการได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้นควรนำมารวมเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ด้วยหรือไม่ เช่น ต้นทุนดอกเบี้ยของงานระหว่างก่อสร้าง
2. ค่าใช้จ่าย R&Dและต้นทุนในการพัฒนา Software ควรนำมาCapเป็นสินทรัพย์หรือไม่
3. ควรใช้วิธการบัญชีเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของต้นทุนของการได้มาซึ่งน้ำมันและแก๊สเป็นสินทัพนย์อย่างไร
*ในการเลือกนโยบายการับรู้ต้นทุนที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ว่าจะ Cap   หรือว่าจะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดทันทีนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวเลขใน B/S P/L และ CF ซึ่งทำให้ส่งผลต่อการวิเคราะห์ Ratio ในระยะยาว
ผลกระทบของการCap หรือการรับรู้เป็น Expenseที่มีต่อตัวเลขในงยการเงิน
เมื่อเปรียบเทียบบริษัท 2 บริษัทโดยบริษัทหรึ่งเลือกรับรู้ต้นทุนเป็นสินทรัพย์โดย Cap เป็นสินทรัพย์ กับ บริษัทที่รับรู้เป็นค่าใช้จจ่าย พบว่า
บริษัทที่เลือก Cap จะมี NI ที่ Smooth กว่า แต่กินการที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเลย NI จะมีค่าความผันผวนมากกว่า (Cap ความผันผวนของกำไร < ความผันผวนของกำไรที่ถือเป็นค่าใช้จ่าย)
ROA ของบริษัทที่เลือก Cap ต้นทุน จะมีความสม่ำเสมอมากกว่าบริษัทที่เลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเพราะว่าบรัทเลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายจะทำให้ NI มีความผันผวนจึงมีROA ที่มันผันผวน(CapความผันผวนของROA < ความผันผวนของROAที่ถือเป็นค่าใช้จ่าย)
CFO ของบริษัทที่เลือก Cap ต้นทุนจะสูงกว่าบริษัทที่เลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเพราะ เมื่อบริษัทเลือกที่จะCapเป็นสินทรัพย์ถาวรจะส่งผลให้ ต้นทุนนั้นถูกแสดงเป็น CFIแต่ถ้าเลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายต้นทุนนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของ CFO (Exp :   à    Low NI    à    Low CFOจึงทำให้บริษัทที่เลือก Cap เป็นสินทรัพย์มี CFO สูงเกินไป(CFOCAP < CFOEXP)
**บริษัทที่มีการเลือกนโยบายในการรับรู้ต้นทุนบางอย่างของสินทรัพย์แตกต่างย่อมมีผลทำให้ตัวเลขของ Ratio ต่างกัน เช่นบริษัทสองบริษัทมีต้นทุนของสินทรัพย์ที่สามารถเลือกรับรู้ได้ซึงพบว่าบริษัท เลือกที่จะ Cap เป้นสินทรัพย์แต่ยริษัท B เลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย จึงส่งผลดังนี้
                               
NI:          A ผันผวน< B
                                ROA:     A สม่ำเสมอกว่า B
                                CFO:      A> B
                                Asset:    A> B
                                D/E:      A< B
บริษัทที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่าย
                ð มีสินทรัพย์ที่ต่ำกว่า บริษัทที่เลือก Cap
                ðEquity ที่ต่ำกว่า บริษัทที่Cap
                ðD/E Ratio ต่ำกว่าบริษัทที่ Cap
ต้นทุนของดอกเบี้ยการกู้ยืมที่นำมา Cap ได้ตาม SFAS34 ต้นทุนของดอกเบี้ยการกู้ยืมที่นำมาCapได้จะต้องเป็นดอกเยี้บของสินทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างสาเหตุที่กำหนดเช่นนั้น  มีการโต้แย้งSFAS34 โดยให้เหตุผลว่าต้นทุนดอกเบี้ยจากการกู้ยืมนั้นไม่ควรนำมารวมเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ เพราะว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นเป็นผลมาจาก Financial Decision (การตัดสินใจด้านโครงสร้างทางการเงิน)ไม่ได้เกิดจาก Operating Decision เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยจ่ายก็ควรจะต้องถือเป็น Financial Cost จึงไม่ควรนำมารวมเป้นสินทรัพย์  ซึ่งถ้าบริษัทนำมารวมเป็นสินทรัพย์ ตาม SFAS34 ได้ระบุไว้นั้นก็จะกลายเป็นว่า สินทรัพย์ของบริษัทจะมากหรือนั้นนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ทางโครงสร้างการเงินของผู้บริหาร ว่าต้องการให้มีสินทรัพย์สูงหรือต่ำ  ต้องสินทรัพย์สูงà กู้เยอะ ต้องสินทรัพย์ต่ำà กู้น้อย
อาจารย์ White จึงสนับสนุนว่ากิจการควรรับรู้ดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่ายดีกว่า Cap เป็นสินทรัพย์ (ไม่เห็นด้วยกับSFAS34)ดังนั้นในการวิเคราะห์งบการเงินนักวิเคราะห์ควรจะสนใจดอกเบี้ยการกู้ยืมซึ่งต้องมีการ Adjust
1.งบนั้นได้มีการนำดอกเบี้ยไปCap ไว้เป็นต้นทุนของสินทรัพย์ ก็ต้องลดสินทรัพย์ด้วยจำนวนที่ไปCapเป็นสินทรัพย์ไว้แล้วนำไปบวกเพิ่มในดอกเบี้ยจ่ายที่แสดงใน P/Lเพราะฉะนั้นใน P/Lจะมี NIลดลงด้วยจำนวนดอกเบี้ยที่นำไปCapไว้ (ในการลดสินทรัพย์ถาวรด้วยจำนวนดอกเบี้ยที่Capไว้นั้น ก็จะมีผลต่อDepreciation ซึ่งมีผลน้อยมากและไม่มีนัยสำคัญ จึวไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนแปลงDepreciation)
2.ในการที่บริษัทเลือกCapดอกเบี้ยเป็นสินทรัพย์นั้น จะทำให้เกิดการจัดประเภทรายการที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้ เพราะว่าถ้ากิจการเลือกที่จะ Cap ดอกเบี้ย นั้นต้องรวมอยู่ใน CFI แต่ในความเป็นจริงแล้วดอกเบี้ยนั้นเกิดจากการกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน มันจึงไม่ต้องจัดอยู่ใน CFIแต่มันควรจัดอยู่ใน CFF หรือ CFO ก็ได้(ตามที่มาตรฐานไทยได้กำหนดไว้)
ในการจะคำนวน TIE or Interest Coverage Ratio ซึ่ง = NI/INT   INT ที่นำมาใช้ต้องเป็นตัวหลัง Adjust ดอกเบี้ยที่ได้ Cap ไว้แล้วส่วน NI ก็ควรจะให้ตัวหลัง Adjust เช่นกัน
ตามมาตรฐานการบัญชีของไทย ฉบับที่ 33(IAS23)  
นิยามสินทรัพยที่เข้าเงื่อนไข คือ สินทรัพยที่ต้องใช้ระบรเวลานานในการเตรียมพร้อมเพื่อนำมาใช้หรือนำไปขาย
ต้นทุนการกูยืม คือ ดอกเบี้ยและต้นทุนอื่นที่เกิดจากการกู้ยืม
แนวทางที่ถือปฏิบัติ คือ ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันที(เหมือนอาจารย์ White)
แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ คือ ต้นทุนการกูยืมของสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขอาจ Cap เป็น ราคาทุนของสินทรัพย์ได้ (ถ้าเป็นไปตามหลักการรับรู้รายการ 2 ข้อ)
กรณที่Capเป็นสินทรัพย์จะต้องหยุดรวมเมื่อ
1.หยุดพัฒนาสินทรัพย์เป็นแวลาต่อเนื่อง
2.ดำเนินการให้สินทรัพย์พร้อมใช้หรือพร้อมขายโดยส่วนใหญ่ได้เสร็จแล้ว
3.เมื่อสร้างสินทรัพย์บางส่วนเสร็จแล้วได้ใช้บางส่วนแล้วต้องหยุดรวมในส่วนที่สร้างเสร็จ
สิ่งที่กิจการต้องเปิดเผยถ้าเลือกที่จะ Capเป็นสินทรัพย์
1.นโยบายการบัญชีที่ใช้
2.จำนวนชองต้นทุนในงวดนั้นที่ได้Capเป็นสินทรัพย์
3.อัตราการตั้งขึ้นเป็นทุน(ดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย)ที่ใช้ในการคำนวน
Intangible Asset (สินทรัพย์ไม่มีตัวตน)   ประเด็นที่เป็นปัญหารของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนก็คือการจัดกการได้ยาก เช่น
1.ในการจะแยกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนา เพื่อนำมา Cap นั้น ยังไม่สามารถแยกออกมาเป็นจำนวนได้ชัดเจน
2.ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาถ้าเลือกที่จะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายนั้นจะรับรู้กี่ปี ซึ่งไม่สามารถวัดได้ชัดเจนว่ามันสามารถให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้กี่ปี
3.Brand Name ต่างถ้าจะรับรู้และจะรับรู้ซักกี่ปี
ตามมาตรฐานไทยฉบับที่ 51 (IAS38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน  ได้ระบุการรับรู้ ค่าวิจัยและพัฒนา ว่าค่าวิจัย รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันทีในงวดที่เกิดขึ้น ค่าพัฒนา สามารถ Cap เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ถ้าเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
1. มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคว่าสามารถพัฒนาสินทรัพย์นั้นมาใช้ประโยชน์หรือนำมาขาย
2. มีความตั้งใจที่จะทำให้เสร็จเพื่อนำมาใช้ประโยชน์หรือขาย
3. มีความสามารถในการใช้ประโยชน์หรือนำมาขาย
4. สามารถแสดงให้เห็นวิธีที่จะนำสินทรัพย์ที่พัฒนาไปก่อประโยชน์ได้
5. กิจการที่มีทรัพยากรต่างๆเพียงพอที่จะพัฒนาสินทรัพย์นั้นจนเสร็จและนำไปใช้ประโยชน์หรือนำไปขายได้
6. สามารถวัดมูลค่าของรายจ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาได้อย่างน่าเชื่อถือ
กรณีเป็นไปตามเงื่อนไข หรือสามารถรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้แล้วก็ไม่สามารถถือสินทรัพย์นั้นไว้ตลอดได้ กิจการต้องทยอยรับรู้เป้นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดบัญชี โดยตามมาตรฐานไทยได้ระบุว่าในการตัดจำหน่ายสิทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายนั้นถ้าไม่สามารถกำหนดรูปแบบของการใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้อย่างเชื่อถือืกิจการต้องใช้การตัดจำหน่ายตามวิธีเส้นตรงไม่เกิน 20 ปี
**ตาม SFAS5 ได้กำหนดให้บันทึกค่า R&D เป้นค่าใช้จ่ายทันที
**วิธีการบัญชีของ R&D คือ
-   รับรู้เป็นค่ใช้จ่ายทันทีในงวดที่เกิด(Write-Off)
-   ทยอยรับรู้เป้นค่าใช้จ่ายตลอดอายุเชิงเศรษฐกิจ
 
Asset Revaluation (การตีราคาสินทรัพย์ใหม่)
                เหตุผลของการตีราคาสินทรัพย์ถาวรใหม่ ก็เพื่อให้แสดงมูลค Market Value ซึ่งมันสามารถให้มัลค่าที่มีประโยชน์กว่าการแสดงด้วย Historical Cost
                ภายใต้ U.S.GAAP ไม่อนุญาติให้ทำการ Revaluation(การตีราคาสินทรัพย์ใหม่)
มาตรฐานไทย ฉบับที่ 32 (IAS16) ที่ดินอาคารอุปกรณ์
                แนวทางที่กำหนดให้ปฏับัติ คือ แสดงสินทรัพย์ถาวรด้วยราคาทุน หัก ค่าเสื่อราคาสะสมและค่าเผื่อการด้วยค่าสินทรัพย์
                แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ คือ อาจแสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ ซึ่งก็คือ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ณ วันที่ตีราคาใหม่ หักด้วย ค่าเสื่อมราคาสะสมที่คำนวนจากมูลค่ายุติธรรมและหักด้วยค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์
                กรณีที่กิจการมีการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น จะเกิดส่วนเกินการตีราคาสินทรัพย์อยู่ในEquity ในงบดุล
                กรณีที่กิจการมีการตีราคาสินทรัพย์ลดลง เกิดขาดทุนจากการตีราคารับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
**อาจารย์ White จึงแนะนำว่าก่อนจพทำการวิเคราะห์งบการเงินก็ควรมีการ Adjust รายการบางรายการก่อน
ตัวอย่างที่อาจารย์ ไวท์ ยกให้เห็น
                ในอตสาหกรรมยารักษาโรคจะพบว่า ใน USA อุตสาหกรรมที่ผลิตยาจะมี ROA ที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งมันเกิดจากการมีกำไรเยอะ และมีสินทรัพย์ต่ำจึงอาจเป็นไปได้ว่าในอุตสาหกรรมผลิตยานั้นจะมีค่า R&D เยอะมาก ซึ่ง GAAP US.ไม่ยอมให้ Cap R&D บางส่วนเป็นสินทรัพย์เลยต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด จึ่งส่งผลให้ Low Asset ð High ROA
               
                ซึงผลดีอีกข้อหนึ่งที่ของการรับรู้เป้นค่าใช้จ่ายก็คือ จำทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกำไรต่ำภาษีต่ำ
Note:  Mandatory = บังคับ
                ** กรณีที่บริษัทเลื่อที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายออย่างเดียวโดยไม่ Cap เลยนั้นมันอาจทำให้ความสามารถในการกู้ยืมของบริษัทลดลงได้เพราะ NI ต่ำ
                ** ได้มีหลักฐานงานวิจัย พบว่า การที่บริษัทสดงให้เห็นว่ามีการพยายามลงทุนลดลงหรือมีการลดลงของการจะขยายการลงทุนเพิ่ม คือ เป็นการส่งสัญญานดีต่อนักลงทุน
การขายหรือการตัดจำหน่ายสินทรัพย์
มักจะเกิดรายกร กำไร/ขาดทุน จากการจำหน่ายสินทรัพย์ ซึ่งรายการนี้ถือว่าเป็นNonrecurring Item ซึ่งในการวิเคราะห์งบ ควรจะ Adjust รายการนั้นออกก่อน  ในการสังเกตุเพื่อประโยชน์ในการวิเคาระห์ ถ้าพบว่ากิจการได้มีการขายสินทรัพย์ที่เป็นส่วนสำคัญของการผลิตหรือดำเนินงานมันอาจบอกให้เราทราบอ้อมๆว่ากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เช่น เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ หรืออาจปิดกิจการ
ในบางครั้งรายการ กำไร /ขาดทุน จากการขายสินทรัพย์ถาวร ก็มีผลต่อการวิเคราะห์ของนักลงทุนได้ เช่น
-  ในกรณีที่มีกำไรจากการขายสินทรัพย์ นักวิเคราะห์อาจมองย้อนไปถึงวิธีการคิด ค่าเสื่อมราคาได้ว่า กิจการได้เบื่อกใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคา แบบ Conservative คือ จะรับรู้ค่าใช้จ่ายต่อปีมากๆไว้ก่อน จึงทำให้ตัดค่าเสื่อม ในแต่ละปีค่อนข้างสูง เวลาจะขายจึงทำให้สินทรัพย์ ณ วันที่ขายมีราคาที่ต่ำกว่า จึงมีกำไรจากการขายสินทรัพย์
-  ในกรณีที่มี ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ นักวิเคราะห์ก็อาจมองว่า เป็นไปได้มั้ยที่กิจการเลือกใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมที่ทำให้มีค่าเสื่อมราคาในแต่ละปี ต่ำๆเพื่อให้กำไรสูง ดังนั้น เวลาขายสินทรัพย์สุทธิ จึงแสดงมูลค่าที่สูงเกินไป(Over Value)จึงทำให้ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์
 3488
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์