บริษัทกับห้างหุ้นส่วนแตกต่างกันอย่างไร ตอน 1

บริษัทกับห้างหุ้นส่วนแตกต่างกันอย่างไร ตอน 1

หลายคนที่สนใจเปิดกิจการใหม่ มักมีคำถามค่ะ ว่าจะเปิดกิจการในรูปแบบบริษัท หรือว่า ห้างหุ้นส่วน แบบไหนดี ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจลักษณะสำคัญของบริษัทและห้างหุ้นส่วนก่อนนะคะว่ามันมีลักษณะอย่างไร

บริษัท เป็นนิติบุคคล โดยมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน แบ่งทุนเป็นหุ้น แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน มูลค่าหุ้นต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 บาท โดยผู้ถือหุ้นต้องลงเงินเป็นทุน หากมีแรงงานจะมาลงแรง อันนี้ไม่ได้นะคะ ต้องมีเงินค่ะ ลักษณะที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ผู้ถือหุ้นจะรับผิดจำกัดในหนี้สินของบริษัทเพียงไม่เกินจำนวนเงิน ตามค่ามูลค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น หมายความว่า นางกุ๊กไก่ ลงชื่อจองซื้อหุ้น 10 หน่วย หน่วยละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท บริษัทเรียกเก็บค่าหุ้น 25% คือเงิน250 บาท ต่อมาบริษัทบริหารเงินหล่มจมหนี้สินพ้นล้นตัว เป็นเหตุให้ต้องจ่ายเงินคือเจ้าหนี้ 10 ล้านบาท นางก็จะรับผิดจำนวน 75% ของค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ คือมูลค่า 750 บาท แต่ถ้าหากว่านางจ่ายค่าหุ้นทั้งจำนวน1,000 บาทไปแล้ว ถึงบริษัทจะเป็นหนี้เกินทุน นางก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้แต่อย่างใด

ห้างหุ้นส่วน เป็นการรวมกันของหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงว่าจะรวมทุนกัน ทุนไม่ได้จำกัดเฉพาะเงิน ยังรวมถึง ทรัพย์สิน อาคาร ที่ดิน เฟอร์นิเจอร์ ที่ใช้ในกิจการนั้น นอกจากนี้ยังรวมถึงแรงงานด้วย  ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ หุ้นส่วนของห้างจะต้องรับผิดในหนี้สินไม่จำกัด เน้นว่าหุ้นส่วนทุกคนนะคะ ซึ่งจะแตกต่างกับส่วนหุ้นส่วนจำกัด เนื่องจากหุ้นส่วนจำกัด แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่ง หุ้นส่วนทั่วไป จะรับผิดเท่ากับทุนที่ตนแจ้งไว้เหมือนกับบริษัท ส่วนหุ้นส่วนอีกพวกคือ หุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งเค้าเป็นคนจัดการงานของห้างหุ้นส่วน พวกนี้จะรับผิดไม่จำกัดเช่นเดียวกับหุ้นส่วนของห้างฯสามัญ เฉพาะกลุ่มหุ้นส่วนผู้จัดการหากเค้าไม่มีเงิน ทรัพย์สิน เค้าจะใช้แรงงานมาเป็นทุนได้  แต่หุ้นส่วนทั่วไปทำไม่ได้นะคะสำหรับห้างหุ้นสามัญ จะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ หากจดทะเบียนก็จะใช้ชื่อว่า ห้างหุ้นสามัญนิติบุคคล คือมีสถานะเป็นนิติบุคคล ดังนั้นหากห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ได้จดทะเบียนก็จะไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลนะคะ ส่วนห้างหุ้นจำกัด จะเลือกจดหรือไม่จดไม่ได้ ต้องจดอย่างเดียว มีผลเป็นนิติบุคคล เช่นเดียวกับบริษัท

บทความโดย : http://www.banproaccounting.com

 970
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์