ระบบสารสนเทศเพื่อการบัญชี

ระบบสารสนเทศเพื่อการบัญชี

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

        ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ( Accounting Information System ) คือ ระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ( Financial data ) ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้

     ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็น กระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมาก ขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการ ดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กัน แต่MIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่AIS จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น

ที่มา : http://bellectk.wordpress.com/2012/09/19

เขียนโดย Chell Teerapol ที่ 20:30 ไม่มีความคิดเห็น: 

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

ที่มาและวัตถุประสงค์ของระบบงาน

สารสนเทศ ทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากร และในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆรายงานงบประมาณ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลักฐานทางการ เงิน ดังนี้

  1. ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์การ
  2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
  3. ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
  4.  ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
  5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
  6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้

          ระบบสารสนเทศทางการบัญชี  เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาในกิจการ  โดยมีการใช้ทรัพยากรบุคคล  คอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์รอบข้าง  และจัดทำสารสนเทศทางการบัญชี  ให้แก่ผู้ใช้ภายในและผู้ใช้ภายนอกของกิจการ  ในระบบสารสนเทศทางการบัญชีนี้อาจใช้คนจัดเก็บบันทึกข้อมูล  ประมวลผลและจัดทำสารสนเทศทางการบัญชีโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์รอบข้างเป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวก  หรืออาจนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างรวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น

            ในปัจจุบันนี้ธุรกิจส่วนใหญ่ได้นำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานทั้งทางด้านการตลาด  ด้านการเงิน  ด้านการผลิต  และด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์  ดังนั้นการจัดทำสารสนเทศทางการบัญชีจึงเปลี่ยนจากการจัดเก็บ  การบันทึก  การประมวลผลและจัดทำรายงานด้วยมือ  มาเป็นการจัดเก็บ  การบันทึก  การประมวลผล  และจัดทำรายงานด้วยคอมพิวเตอร์

ประโยชน์จากสารสนเทศทางการบัญชี

  1. ให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันแก่ผู้บริหารระดับล่างและพนักงาน  เพื่อใช้ในการประสานงาน  ประเมินผลการปฏิบัติงาน  ควบคุมและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน้าที่งานหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ  เช่น  รายงานการขาย  รายงานสินค้าคงเหลือ  รายงานเงินสดรับ-จ่ายประจำวัน
  2. ให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ  วางแผน  และควบคุมการดำเนินงานทั้งระยะสั้น  และระยะยาวแก่ผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูงเพื่อนำไปใช้ประกอบกับข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลขทางการเงิน  บริหารงานด้านการตลาด  การผลิต  หรือทรัพยากรบุคคล  เช่น กำลังซื้อของผู้บริโภค  วิเคราะห์แนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดของยอดขายสินค้า
  3. ให้ข้อมูลขั้นพื้นฐานตามกฎหมายกำหนดแก่ผู้ใช้ภายนอก  ประกอบด้วยตัวเลขในงบกำไรขาดทุน  และงบดุล  หรือถ้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  กิจการต้องจัดทำงบกระแสเงินสดเพิ่มเติมให้ผู้ใช้ภายนอกด้วย

ข้อดีข้อเสีย

ข้อดี

        1.มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมครบถ้วน

        2.มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการกำหนดขนาดแฟ้มข้อมูล

        3.ความสามารถของโปรแกรมในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถในการทำงานสูง

        4.มีความสามารถใช้การเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบลูกข่าย แม่ข่าย

        5.เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง

        6.มีระบบการกำหนดรหัสผ่านหลายระดับ

        7.มีการสร้างแฟ้มหลักรวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มหลัก

        8.มีระบบการรับเข้าข้อมูลและตรวจทานการรับเข้าข้อมูล

        9.การป้อนข้อมูลทางหน้าจออยู่ในลักษณะของการรับข้อมูลไดมากกว่าหนึ่งรายการ

      10.มีระบบป้องกันการผ่านบัญชีที่ผิดพลาด

      11.มีความยืดหยุ่นของการปิดงวดบัญชี

      12.มีโปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารหรือรายงาน

      13.การโอนย้ายข้อมูลภายในระบบสร้างความคล่องตัวให้กับผู้ใช้ข้อมูล

ข้อเสีย

การพัฒนาระบบของธุรกิจที่เปิดดำเนินการมานานแล้ว  กระบวนการปฏิบัติงานจะเริ่มต้นจากการสำรวจความต้องการของผู้ใช้  พร้อมกับการวิเคราะห์ระบบที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน  หลังจากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้รับไปพัฒนาให้เหมาะสมกับธุรกิจ  สำหรับงานขั้นสุดท้ายจะเป็นการนำระบบที่พัฒนาเรียบร้อยแล้วไปใช้งานซึ่งในขั้นตอนนี้  กลุ่มของผู้พัฒนาระบบจะทำหน้าที่ฝึกอบรม  ให้คำปรึกษา  และแนะนำวิธีการใช้งานเช่นเดียวกับหน้าที่งานในการพัฒนาระบบของธุรกิจที่เพิ่งเปิดดำเนินการ  อนึ่ง  หน้าที่การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีนี้จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างระบบงาน

  ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่งเฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องในการทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ

  1. ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system)บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ

  1. ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system)บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ

ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ

ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ

ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน

มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน

        AIS จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน แต่ MIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ AIS จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น

บทความโดย : kuadthong.blogspot.com 

 87915
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์