• หน้าแรก

  • BLOG myAccount Cloud

  • เงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อ สินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างไร

เงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อ สินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างไร

  • หน้าแรก

  • BLOG myAccount Cloud

  • เงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อ สินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างไร

เงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อ สินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างไร

อัตราเงินเฟ้อ เป็นหนึ่งในข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนหลายคนจับตาเพราะการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุน
คำถามที่หลายคนสงสัยคือ ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วงภาวะเงินเฟ้อและตามมาด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นสินทรัพย์หลัก ๆ อย่างตราสารหนี้
ทองคำ และหุ้น จะได้รับผลกระทบอย่างไร ?

เป็นที่รู้ ๆ กันอยู่แล้วว่า ในภาพรวม เงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องไม่ดีเสมอไปเพราะถ้าหากว่าเป็นเงินเฟ้อในระดับที่เหมาะสมก็จะเป็นตัวแปรสำคัญ ให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต
ได้ดีแต่ในเชิงทฤษฎีการเงินและการลงทุนนั้นเงินเฟ้อจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นลดลงที่เป็นแบบนี้เพราะ ผลตอบแทน “ที่แท้จริง” จากการลงทุน จะเกิด
จาก อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน หักด้วย อัตราเงินเฟ้อยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ เช่น ถ้าเราฝากเงินกับธนาคารแล้วได้อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อ
ในปีนั้นเท่ากับ 1% หมายความว่า ผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุนในปีนั้น จะเท่ากับ 1% นอกจากนั้น ถ้าอัตราเงินเฟ้อยิ่งปรับตัวมากขึ้น จนมากกว่าอัตราผลตอบแทน
จากการลงทุนในสินทรัพย์นั้นก็จะทำให้ผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุนของนักลงทุน “ติดลบ”ถ้าสถานการณ์นี้ดำเนินไปต่อเนื่องยาวนาน ก็อาจทำให้คนนำเงินไป
เก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อหวังได้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ ซึ่งอาจนำไปสู่ วิกฤติฟองสบู่สินทรัพย์ต่าง ๆ ได้เช่นกันขณะที่การเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ มักตาม
มาด้วยการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่เป็นแบบนี้ ก็เนื่องจากเมื่อเงินเฟ้อ ราคาสินค้าและบริการปรับสูงขึ้นธนาคารกลางก็จำเป็นต้องหาวิธีชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาใหญ่ ๆ ตามมา เช่น Hyperinflation หรือเงินเฟ้อขั้นรุนแรง

ซึ่งวิธีที่ธนาคารกลางนิยมเอามาใช้ ก็คือการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อ “เพิ่มต้นทุนการกู้ยืม” ในภาพรวม
ลดการกู้ยืมไปบริโภค ไปขยายธุรกิจ รวมถึงไปเก็งกำไรซึ่งจะส่งผลให้ เศรษฐกิจภาพรวม ชะลอความร้อนแรงของการเติบโตลงได้
ประเด็นต่อมาก็คือ แล้วตราสารหนี้ ทองคำ และหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ที่เป็นสินทรัพย์หลัก ๆ ที่นักลงทุนคุ้นเคย จะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร ?

- หุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล

หุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยคงที่ หรือส่วนลดตราสาร แก่นักลงทุนที่ถือครองตราสารจนครบกำหนด
ประเด็นสำคัญคือ เมื่ออัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับขึ้น และส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยมีทิศทางที่จะปรับตัวสูงขึ้น ในทางทฤษฎี ราคาของหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล จะปรับตัวลดลง
ที่เป็นแบบนี้เนื่องจาก ตราสารหนี้ชุดเดิมที่นักลงทุนถืออยู่นั้น จะเริ่มมีความน่าสนใจลดลง เพราะอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วนั้น กำลังจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยหน้าของตราสารหนี้ชุดใหม่ที่กำลัง
ออกมาซึ่งตราสารหนี้ สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันในตลาดรองได้ดังนั้น หากนักลงทุนต้องการที่จะขายตราสารหนี้ชุดเดิมออกมา เพื่อไปซื้อตราสารหนี้ชุดใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยจูงใจกว่า
เขาก็ต้องลดราคาขายลง เพื่อจูงใจให้นักลงทุนรายใหม่มาซื้อต่อ

- ทองคำ

เวลาเงินเฟ้อมากขึ้นในประเทศ หมายความว่า ค่าเงินสกุลนั้นลดลงซึ่งเรื่องนี้ทำให้นักลงทุน มักมองหาสินทรัพย์ที่สามารถป้องกันอำนาจซื้อที่ลดลงของค่าเงินที่ลดลงได้
โดย “ทองคำ” เป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนจำนวนมากเชื่อว่ามีคุณสมบัตินั้นข้อมูลจาก Statista ระบุว่า ในช่วงปี 1971-2019ทองคำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10.9%
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาดังกล่าว เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 3.9%พอเรื่องเป็นแบบนี้ เราน่าจะพอบอกได้ว่า ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่สามารถใช้ป้องกันเงินเฟ้อ
ได้ดีพอสมควรแต่เนื่องจากการถือครองทองคำ นักลงทุนจะไม่ได้ดอกเบี้ย หรือเงินปันผล เพราะฉะนั้น นักลงทุนก็ต้องบริหารจัดการในเรื่องกระแสเงินสดที่จะได้รับในขณะที่
ถือครองทองคำให้ดี

- หุ้นสามัญ

โดยทั่วไปแล้ว เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น มักจะส่งผลเสียต่อตลาดหุ้น เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งมีแนวโน้มลดลง จากต้นทุนทางการเงินที่ปรับเพิ่มขึ้น
หรือในมุมของการคำนวณ Valuation ด้วยวิธีคิดลดกระแสเงินสดในอนาคตของบริษัทหากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น อัตราคิดลดก็จะสูงขึ้นตามซึ่งจะเป็นผลให้นักลงทุน ปรับลด Valuation
ของบริษัทลงจากช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ ๆ ได้อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เป็นผลมาจากการปรับขึ้นของเงินเฟ้อ โดยเฉพาะเงินเฟ้ออย่างอ่อน ๆ ที่ประมาณ 2-3% อาจไม่ได้ส่ง
ผลเสียหายอย่างที่เราเชื่อกันก็ได้ที่เป็นแบบนี้เพราะ เงินเฟ้อในลักษณะนี้ มักจะทำให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการเกิดแรงจูงใจในการลงทุน การจ้างงาน ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ
ขณะที่ราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นจากเงินเฟ้อในระดับที่เหมาะสม ส่วนใหญ่แล้ว ก็จะส่งผลดีต่อรายได้และผลประกอบการ ของบริษัทจดทะเบียนด้วยเช่นกันนอกจากนี้
หุ้นในแต่ละอุตสาหรรมก็ได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น หุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์มักถูกมองว่าเป็นหุ้นที่สามารถป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้
เนื่องจาก เงินเฟ้อมักเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว ทำให้ความต้องการวัตถุดิบ ซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ในการนำไปใช้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ จึงเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งมันก็ส่งผลให้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายอย่างปรับตัวขึ้นขณะที่หุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินอย่างธนาคาร ก็จะได้รับประโยชน์ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขึ้น
เพราะสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้นได้เร็วและยืดหยุ่นกว่า การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของธนาคารนั้น
ปรับตัวเพิ่มขึ้นดังนั้น สำหรับหุ้นแล้ว การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย ก็จะส่งผลกระทบกับหุ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ แตกต่างกันไป

อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะพอเข้าใจว่า
ช่วงที่โลกกำลังเข้าสู่วงจรขาขึ้นของเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย
สินทรัพย์แต่ละประเภทจะได้รับผลกระทบ ที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งถ้าเราทำความเข้าใจ รายละเอียด และกลไกเรื่องเหล่านี้ให้ดี
ก็น่าจะช่วยให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในโลกการลงทุน ได้ดีมากขึ้น..
ซึ่งจะทำให้นักลงทุนที่ยังถือตราสารหนี้ชุดเดิมที่ราคาลดลงเรื่อย ๆ นั้น ขาดทุนได้
ทั้งนี้ นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ ในช่วงอัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นนั้น ควรมุ่งเน้นไปที่การลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
ตราสารหนี้ระยะยาวหรืออาจจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ก็จะช่วยลดผลกระทบจากความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยได้พอสมควร

แหล่งที่มา : Link

 796
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์