“ภาษีปี 63” สำหรับมนุษย์เงินเดือน

“ภาษีปี 63” สำหรับมนุษย์เงินเดือน

     จากการประชุม/สัมมนาและมอบหมายนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 จึงรวบรวมภาษีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลนี้และกำลังจะมีผลในปี 2563 ไว้ในบทความนี้ ซึ่งปีงบฯ 63 รบ.มีรายได้ 2 เดือนแรก 4.29 แสนล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 5.49 แสนล้านบาท

1. ภาษีที่ดิน  

     มีผล 1 ม.ค.63 ตาม พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 แต่จะเริ่มจัดเก็บจริงในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งก่อนที่จะมีการบังคับใช้ ภาษีดังกล่าวได้สร้างความสับสนให้กับประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีบ้านพักอาศัยมากกว่า 1 หลัง แต่ถูกนำไปจัดประเภทเป็นเชิงพาณิชย์ที่ต้องเสียอัตราภาษีสูงมาก จนในสุด กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้คิดนโยบายและกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องปรับเกณฑ์ใหม่ โดยให้ผู้ที่ปล่อยเช่าบ้าน คอนโด เสียภาษีในอัตราเดียวกันกับที่อยู่อาศัยประมาณ ล้านละ 200 บาทต่อปี

2. ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ

     ต้องยอมรับว่าการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตขึ้นมาก ตามข้อมูลของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) บอกไว้ว่า สถิติที่ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 45 ล้านคน (2560) มี Mobile Subscriber กว่า 124.8 ล้านราย (2561) ผู้ใช้ Line  กว่า 44 ล้านคน (2561) ผู้ใช้ Facebook กว่า 52 ล้านราย (2561) และมีแนวโน้มว่ามูลค่าอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยปีล่าสุดจะสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท (2561) โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น 11.11 , 12.12, Black Friday ที่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซต่างจัดโปรโมชันส่งเสริมทางการตลาด

     ในปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการบางรายมียอดขายสูงถึง 1.44 พันล้านบาท ด้วยปริมาณการสั่งชื่อสินค้ากว่า 1.7 ล้านชิ้น ในระยะ 3 วัน  โดยกลุ่มสินค้าที่เป็นที่นิยมอันดับต้น ๆ คือ สินค้าอุปโภคบริโภคของเด็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า สมาร์ทโฟน เครื่องสำอาง สกินแคร์ ซึ่งจากเดิมหากมูลค่าสินค้าที่ซื้อจากต่างประเทศมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาทจะถูกยกเว้นภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%)  แต่ดูเหมือนว่าต่อไป ไม่ว่าจะมีมูลค่าเท่าใดจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%)

3. ภาษีการโอนเงินระหว่างบัญชี

     เป็นอีกหนึ่งมาตรการทางภาษีเพื่อมุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้ค้าออนไลน์ โดยใจความสำคัญของเรื่องนี้ “ธนาคาร สถาบันการเงิน ต้องส่งข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้าที่เข้าข่าย เช่น มีการโอนเงินเกินกว่า 3,000 ครั้งต่อปี หรือ เกินกว่า 400 ครั้งต่อปี และยอดเงิน 2,000,000 บาทขึ้นไป

4. มาถึงเรื่องของอัตราภาษีที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ 

     โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์บิ๊กไบค์ โดยเป็นการคิดภาษีตามการปล่อย CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) อย่างรถมอเตอร์ไซค์ขนาดไม่เกิน 150 ซีซี ซึ่งเป็นรถส่วนใหญ่ที่คนไทยใช้ ร้อยละ 90 ของปริมาณรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศ  จะเสียภาษีเพิ่มคันละ 100 กว่าบาท เพราะจากเดิมเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 2.5 ขยับเสียภาษีเพิ่มเป็นที่ร้อยละ 3 ของราคาขายปลีกหรือราคานำเข้า

     ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เกิน 1,000 ซีซี หรือ รถบิ๊กไบก์  ซึ่งเป็นรถราคาสูงและมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนมาก อาจได้รับผลกระทบและต้องเสียงภาษีเพิ่มขึ้นชัดเจน โดยบางคันหากมีราคาขายปลีกเกินหลักล้านบาท และมีการปล่อยก๊าซปริมาณที่เยอะ อาจต้องเสียภาษีสรรพสามิตสูงถึงคันละ 1 แสนบาท

5. ภาษีที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน

  • ภาษีความหวาน  มีผลตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2561 โดยมีการปรับขึ้นแบบขั้นบันไดครั้งที่ 2 ได้ปรับขึ้นไปเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ในอัตราภาษี คือ น้ำตาล 0-6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ไม่เสียภาษี
     - ค่าความหวาน 10-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
     - ค่าความหวาน 14-18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร
     - ค่าความหวาน 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ขึ้นไป เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

     โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2564  และจะเต็มเพดานภาษีในปี 2566 คือ เครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตร ปริมาณน้ำตาลเกิน 6 กรัม ไม่เกิน 8 กรัม เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร น้ำตาลเกิน 8 กรัม แต่ไม่เกิน 10 กรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร น้ำตาลเกิน 10 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร เป็นอัตราสูงสุด

  • ภาษีความเค็ม อยู่ในขั้นตอนของการศึกษาเบื้องต้น กำลังหารือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่าควรจะพิจารณาจากค่าโซเดียมบนฉลากอาหารที่มาตรฐานความเค็มอยู่ในระดับปริมาณ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน, 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากค่ามาตรฐานโซเดียมบนฉลากอาหารที่ใช้อยู่ปัจจุบันยังไม่ได้พิจารณาตามหลักการขององค์การอนามัยโลก (WHO) 100% และหากมีการจัดเก็บจริงต้องให้เวลาผู้ประกอบการในการปรับตัว 1-2 ปี ในการปรับสูตรอาหารและสินค้าให้มีค่าความเค็มลดลง

6. ภาษีบุหรี่

     ในปี 2563 วันที่ 1 ตุลาคม ภาษีบุหรี่จะเป็นอัตราเดียว ที่ 40% หลังจากกรมสรรพสามิตขยายเวลามาแล้ว 1 ปี จากเดิมที่ต้องขึ้นในวันที่ 1 ต.ค. 2562 ซึ่งกระทรวงการคลังระบุว่า “ได้ให้เวลาผู้ประกอบการรวมถึงชาวไร่มากพอสมควร ดังนั้นกรมสรรพสามิตจึงยืนยันการขึ้นภาษีบุหรี่ตามเวลาที่กำหนดไว้เดิม”

7. ภาษีเครื่องดื่มแอลกฮอล์ 0% หรือ เบียร์ 0% 

     แต่ยังไม่มีพิกัดภาษีโดยในหลักการจะต้องจัดเก็บสูงกว่าภาษีเครื่องดื่มทั่วไปที่ 14% แต่จะไม่เท่ากับอัตราภาษีเบียร์ที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบันที่เก็บอยู่ที่ 22% จากปริมาณแอลกอฮอล์ โดยหลังจากนี้กรมจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบก่อนที่จะประกาศกฎกระทรวงเพื่อบังคับใช้ต่อไป

ที่มา : Link

รวมบทความบัญชีมากถึง 1,000 : https://www.myaccount-cloud.com/Article/List/16128

 707
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์