BLOG myAccount Cloud

BLOG myAccount Cloud

1647 Items
ผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มธุรกิจใหม่ มักกังวลถึงความเสี่ยงของธุรกิจว่าจะไปรอดหรือไม่และมีกำไรเพียงพอที่จะเสี่ยงลาออกมาจากงานประจำหรือไม่ รวมทั้งอยากทราบว่าจะขายจำนวนเท่าใดถึงจะคุ้มทุนในแต่ละเดือน เรื่องการหาจุดคุ้มทุนช่วยในการคาดการณ์ว่าเมื่อเริ่มธุรกิจแล้วควรจะขายเดือนละเท่าใดถึงไม่ขาดทุน การคำนวณหาจุดคุ้มทุนเป็นเรื่องไม่ยากเลยเพราะในแง่ของวิชาบัญชีและการเงินมีสูตรที่ใช้ในการคำนวณเพื่อวางแผนการขายให้ได้เท่าทุน มาเข้าใจเรื่องของจุดคุ้มทุน (Break-even point) ก่อนว่าคืออะไร จุดคุ้มทุนก็คือจุดที่ผู้ขายสินค้าขายได้ในปริมาณที่ทำให้ธุรกิจไม่ขาดทุนและไม่กำไร ก็คือเท่าทุนนั่นเอง ความจำเป็นในการคำนวณจุดคุ้มทุนก็เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบว่าในแต่ละเดือนจะต้องขายสินค้าในปริมาณเท่าไหร่ถึงไม่ขาดทุน เมื่อทราบว่าจะต้องขายกี่ชิ้นต่อเดือนถึงเท่าทุนก็จะมีความพยายามที่จะขายให้ได้เท่าปริมาณนั้นเป็นอย่างน้อยและถ้าขายได้มากขึ้นก็จะเกิดกำไรทันที และหากว่าผู้ประกอบการได้พยายามขายสินค้าอย่างเต็มที่แล้วแต่ก็ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนสักทีอาจตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรเลิกขายสินค้านี้ดีกว่า
87751 Visitor
น้องๆ มัธยมที่กำลังหาคณะหรือสาขาเพื่อวางแผนการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา มักมีคำถามมากมายว่า "พี่คะ...เรียนจบบัญชี แล้วไปทำงานอะไรได้บ้างคะ?" วันนี้พี่จะพาน้องๆ ไปคลายข้อสงสัยนี้กันว่า เรียนจบบัญชี จะสามารถทำงานอะไรได้บ้าง? ตามไปดูทั้ง 8 อาชีพที่เรานำมาฝากกันได้เลย
4581 Visitor
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้ 1. เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิตและต้นทุนขายของธุรกิจ 2. เพื่อสามารถนำต้นทุนทั้งหมดของกิจการมาเปรียบเทียบกับรายได้จากการขายเพื่อจะได้ทราบว่ามีกำไรหรือขาดทุนในการขายสินค้า 3. เพื่อคำนวณหรือตีราคาสินค้าคงเหลือที่ขายได้ไม่หมดว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ 4. เพื่อใช้ในการวางแผ นและควบคุมการซื้อสินค้าและจัดทำงบประมาณในการซื้อสินค้า รวมทั้งต่อรองราคากับผู้ขายวัตถุดิบ 5. เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าสินค้าใดควรขายต่อไปและสินค้าใดควรเลิกขาย (ในกรณีที่ผู้ผลิตมีสินค้าหลายชนิด)
238456 Visitor
บัญชีต้นทุน(Cost accounting) มีความแตกต่างกับบัญชีการเงิน (Financial accounting) ในรูปแบบของการใช้งานแต่ทั้งสองบัญชีจะถูกจัดทำขึ้นจากสมุห์บัญชี หรือนักบัญชีที่มีความรู้เรื่องบัญชีต้นทุน เพื่อนำไปเป็นบัญชีบริหาร (Managerial accounting) โดยทั่วไปบัญชีต้นทุนจะถูกจัดทำขึ้นในธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมการผลิตเพราะมีความจำเป็นที่ต้องแยกแยะต้นทุนให้ชัดเจนมากกว่าธุรกิจประเภทอื่น แต่สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่เกือบจะทุกประเภทจะมีการจัดทำบัญชีต้นทุนเพื่อใช้ในการบริหารโดยให้ความสำคัญเท่ากับบัญชีการเงินที่เป็นบัญชีในการจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอให้กับบุคคลภายนอกด้วย
2598 Visitor
คุณเคยสงสัยในสิ่งที่แตกต่างระหว่างบัญชีบริหารและการเงินหรือไม่ ดีฉันจะไปขัดแย้งกับความแตกต่างระหว่างพวกเขาในบทความนี้ บัญชีครอบคลุมพื้นที่เช่นการจัดเก็บภาษีการตรวจสอบค่าใช้จ่ายและระบบสารสนเทศ อย่างไรก็ตามพื้นที่เฉพาะของการบัญชีที่แนบมากับบทความนี้ค่าใช้จ่ายเพราะค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเซตบัญชี ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง GAAP บัญชีบริหารและการเงินอนึ่งการรายงานภายใน / ภายนอกด้านนอกเล็ง / และการวางแนวของหน่วย มีจำนวนของหัวข้อที่สามารถฉันของบทความนี้ แต่ฉันรู้สึกบางอย่างที่ปัญหาเหล่านี้จะช่วยให้วิธีที่ดีที่สุดที่จะอธิบายถึงความแตกต่าง
7251 Visitor
เมื่อคราวที่แล้วเขียนเรื่องที่เคยเขียนแล้ว แต่นำมาอธิบายอีกครั้งหนึ่ง คือเรื่องความแตกต่างระหว่างการลงทุนในหุ้นกู้ด้วยตัวเอง กับการลงทุนในหุ้นกู้ทางอ้อมด้วยการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ โดยผมชี้ให้เห็นว่ามีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะความเสี่ยงประเภทที่เรียกว่า market risk
6286 Visitor
หลายปีที่ผ่านมา เราให้ความสนใจกับพัฒนาการใหม่ๆ ในเรื่องต้นทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำข้อสนเทศต้นทุนเพื่อใช้ในการบริหาร ไม่ใช่รายงานต้นทุนเพื่อการเปิดเผยต่อสาธารณะ เราพบว่า การคิดต้นทุน โดยยึดโยงอ้างอิงกับ ระบบบัญชีการเงิน (Financial Accounting) มีข้อจำกัดจากมาตรฐานทางบัญชี ที่ทำให้ บัญชีต้นทุน (Cost Accounting) ไม่ค่อยมีประโยชน์ในการตัดสินใจของนักบริหารเท่าที่ควร แม้กระทั่ง บัญชีบริหาร (Managerial Accounting) ที่ถือปฏิบัติกันในปัจจุบัน ก็ยังติดกรอบแนวคิดทางบัญชี และไม่สามารถแสดงให้นักบริหารเห็นความคุ้มค่าในการนำมาใช้งานอย่างจริงจัง
2473 Visitor
เมื่อคุณตั้งค่าโพรไฟล์ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร และเลือกค่าเสื่อมราคาบริการแบบเส้นตรงในฟิลด์วิธีการหน้าโพรไฟล์ค่าเสื่อมราคา สินทรัพย์ที่ถูกกำหนดโพรไฟล์ค่าเสื่อมราคานี้จะถูกคิดค่าเสื่อมราคาจากอายุบริการรวมของสินทรัพย์นั้น โดยทั่วไปจะได้ยอดค่าเสื่อมราคาเดียวกันในแต่ละรอบระยะเวลาการคิดค่าเสื่อมราคา ความแตกต่างเพียงในยอดค่าเสื่อมราคาที่คำนวณได้ระหว่างวิธีคิดค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานคงเหลือแบบเส้นตรงและวิธีคิดค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานแบบเส้นตรงคือเมื่อมีการปรับปรุงการลงรายการบัญชีที่สินทรัพย์ การตั้งค่าการคิดค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานแบบเส้นตรง คุณต้องเลือกตัวเลือกในฟิลด์ปีที่คิดค่าเสื่อมราคาและความถี่ของรอบระยะเวลาในหน้าโพรไฟล์การคิดค่าเสื่อมราคาด้วย
7634 Visitor
อัตราส่วนทางการเงิน Financial Ratio อัตราส่วนทางการเงิน ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
149902 Visitor
ความหมาย “Book Value” คำว่า “Book Value” หมายความว่าอย่างไร? มูลค่าตามบัญชีคืออะไร? Book Value หรือ มูลค่าทางบัญชี คือ มูลค่าของสินทรัพย์ตามงบดุลของบริษัท สามารถคำนวณได้จากการนำ สินทรัพย์รวม ลบด้วย หนี้สินรวม (Book Value จึงเท่ากับ ผลต่างของสินทรัพย์รวมและหนี้สินรวม) ในทางทฤษฎีหากบริษัทปิดกิจการและขายสินทรัพย์ทั้งหมดหลังจากการชำระหนี้สินทั้งหมดแล้ว ส่วนแบ่งจากสินทรัพย์ที่เหลือก็จะถูกแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน เรียกว่า มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share) กล่าวคือ Book Value (มูลค่าทางบัญชี) เท่ากับ ส่วนของผู้ถือหุ้น
2823 Visitor
301590 Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores