ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝากขายสินค้า

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝากขายสินค้า

การฝากขาย หมายถึง การที่บุคคลที่เป็นเจ้าของสินค้าซึ่งเรียกว่า ผู้ฝากขาย ส่งสินค้าของตนไปให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับฝากขาย เป็นผู้ขายสินค้าให้ โดยที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังคงเป็นของผู้ฝากขายจนกระทั่งสินค้านั้นขายได้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าจึงจะโอนเป็นของผู้ซื้อสินค้า ผู้รับฝากขายจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่านายหน้าตามที่ตกลงกัน ประโยชน์ด้านผู้ฝากขายสำหรับการส่งสินค้าไปฝากขายจะมีหลายประการ คือ เป็นการขยายตลาดให้กว้างขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนตั้งสถานที่จำหน่ายสินค้า หรือไม่ต้องเสี่ยงต่อการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อและเรียกเก็บเงินไม่ได้ หรือราคาขายสินค้าจะเป็นราคาเดียวกันในทุกที่ที่ส่งสินค้าไปฝากขาย เพราะผู้ฝากขายเป็นผู้กำหนดราคาขายและเงื่อนไขการขายเอง ส่วนด้านผู้รับฝากขายจะได้รับประโยชน์ในด้านการลดความเสี่ยงจากการขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินค้า เพราะผู้รับฝากขายจะทำหน้าที่เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายเท่านั้นไม่ใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้า นอกเหนือจากผลประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ผู้รับฝากขายจะต้องมีหน้าที่ในการดูแลสินค้าที่รับฝากขาย ขายสินค้าตามราคาที่กำหนด พิจารณาให้เครดิตลูกค้าสำหรับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และส่งเงินค่าขายสินค้าพร้อมรายงานการขายสินค้าให้แก่ผู้ฝากขาย

4.1 ความหมายของการฝากขาย

4.2 ข้อแตกต่างระหว่างการขายสินค้ากับการฝากขายสินค้า

4.3 สัญญาในการฝากขาย

4.4 ประโยชน์ของการฝากขาย

4.5 สิทธิและหน้าที่ของผู้ฝากขายและผู้รับฝากขาย

4.1 ความหมายของการฝากขาย
การฝากขายคือ การที่เจ้าของสินาค้าฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ฝากขาย(Consignor) นำสินค้าของตนไปฝากขายให้กับอีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝาก(Consignee) เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการขานสินค้าให้ สินค้าที่นำไปฝากขายนั้นยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าที่ส่งไปฝากขายให้แก่ผู้รับฝาก ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้ายังเป็นของผู้ฝากขายอยู่ ซึ่งต่างจากการขายสินค้าโดยปกติ


ความสำคัญของการฝากขาย
การฝากขายกับการขายสินค้ามีความแตกต่างกันในเรื่องของกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้า กล่าวคือ การฝากขายนั้นกรรมสิทธิ์ในตัวสินาค้ายังไม่โอนไปยังผู้รับฝากขาย ดังนั้นสินค้าที่คงเหลือ อยู่กับผู้รับฝากขาย ก็ยังคงเป็นของผู้ฝากขายอยู่ส่วนการขายสินค้ากรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าจะถูกโอนเปลี่ยนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันที เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น

4.2 ข้อแตกต่างขายสินค้ากับฝากขายสินค้า
การฝากขายสินค้า (Consignments) กับการขายสินค้า (Sales) มีข้อแตกต่างกันดังนี้

1. กรรมสิทธิ์ในสินค้า การขายสินค้า กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันที ส่วนการฝากขายกรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นของผู้ฝากขาย มิได้โอนเป็นของผู้รับฝากขายจนกว่าผู้ฝากขายจะขายสินค้าได้จริงจึงจะโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในสินค้าเป็นของผู้ซื้อ

2. รายได้หรือกำไรจากการฝากขาย การฝากขายไม่ใช่การขาย ดังนั้นจึงไม่มีรายได้ กำไรเกิดขึ้นจากการฝากขาย และยังไม่ต้องบันทึกรายการบัญชีจนกว่าผู้รับฝากขายจะขายสินค้าที่รับฝากขายนั้นได้จึงจะบันทึกรายการบัญชี

3. ลูกหนี้ กิจการเมื่อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะบันทึกรายการบัญชีลูกหนี้ แต่ผู้รับฝากขายไม่ใช่ลูกหนี้ ถือเป็นตัวแทน (Agent)

4. สินค้าที่ส่งไปฝากขาย การฝากขายสินค้า กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังคงเป็นของผู้ฝากขายที่ส่งสินค้าไปฝากขาย ในวันสิ้นงวดบัญชีหากมีสินค้าที่ส่งไปฝากขายคงเหลือ ผู้ฝากขายจะต้องบันทึกสินค้าคงเหลือดึงกล่าวรวมเป็นสินค้าคงเหลือของผู้ฝากขาย โดยไม่ถือเป็นสินค้าคงเหลือของผู้รับฝากขาย

5. การคืนสินค้า การขายสินค้าจะมีการรับคืนสินค้าเมื่อสินค้าที่ขายไปชำรุดหรือเสียหายหรือไม่ตรงตามตัวอย่างที่ซื้อ แต่ในการรับฝากขายสินค้า ผู้รับฝากขายมีสิทธิ์ที่จะขอคืนสินค้าได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่ประสงค์จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการขายต่อไป

6. การดูแลสินค้า ผู้รับฝากขายต้องดูแลรักษาสินค้าที่รับฝากขายให้ปลอดภัย และจะมีการบันทึกความจำสำหรับสินค้าที่รับฝากขาย ( Memorandum )

7. การรับชำระค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ผู้ฝากขายส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขายจนถึงวันที่ขายสินค้านั้นได้ ผู้ฝากขายจะต้องรับผิดชอบ ผู้รับฝากขายมีสิทธิ์คิดค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเกี่ยวกับที่รับฝากขายคืนจากผู้ฝากขาย

8. การชำระหนี้ ถ้าผู้รับฝากขายกลายเป็นบุคคลล้มละลายและไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้ฝากขายสามารถเรียกสินค้าที่ฝากขายคืนมาโดยไม่ต้องคอยรับส่วนแบ่งชำระหนี้เหมือนกับเจ้าหนี้รายอื่น ๆ

4.3 สัญญาในการฝากขาย
การดำเนินการฝากขายควรมีการทำสัญญาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกันทั้งผู้ฝากขายและผู้รับฝากขาย และเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งในภายหลัง ข้อความที่ควรแสดงในสัญญาฝากขายควรมีดังต่อไปนี้

1. ระยะเวลาที่ยอมให้ผู้รับฝากขายขายสินค้าเป็นเงินเชื่อได้

2. การกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ผู้รับฝากขายจะได้รับเมื่อขายสินค้าได้

3. ราคาและเงื่อนไขในการขาย

4. รายงานการขายที่ผู้รับฝากขายต้องทำส่งให้ผู้ฝากขายได้ทราบข้อมูลการดำเนินงานต่าง ๆ ในการรับฝากขาย

5. รายการและจำนวนเงินค่าใช้จ่ายของผู้รับฝากขายซึ่งผู้ฝากขายจะชดใช้ให้

6. การเก็บรักษาและการแยกสินค้าที่ฝากขาย และเงินค่าขายสินค้าฝากขายจากสินทรัพย์ของผู้รับฝากขาย

7. ค่าตอบแทน ค่านายหน้า หรือกำไรที่ผู้รับฝากขายจะได้รับ

4.4 ประโยชน์ของการฝากขาย
ประโยชน์ของการฝากขายสามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ ด้านผู้ฝากขาย และด้านผู้รับฝากขาย

1. ประโยชน์ของการฝากขายสินค้าด้านผู้ฝากขาย

1.1 เป็นการลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการขายเชื่อและการเรียกเก็บเงินไม่ได้ ถ้าเปรียบเทียบระหว่างการขายเชื่อกับการฝากขาย การขายเชื่อมีความเสี่ยงในการเก็บเงินลูกหนี้ไม่ได้ แต่การฝากขายกรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นของผู้ฝากขาย ผู้รับฝากขายทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายเท่านั้น ไม่ใช่ลูกหนี้

1.2 เป็นการขยายตลาดสินค้าให้กว้างขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนตั้งสถานที่จำหน่ายสินค้า

1.3 ผู้ฝากขายได้ตัวแทนจำหน่ายสินค้าซึ่งอาจจะมีความชำนาญในการขายสินค้าประเภทนั้น ๆ โดยเฉพาะได้ดีกว่า
ตนเอง
1.4 เป็นการขยายตลาดสินค้าซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีกวิธีหนึ่งสำหรับสินค้าชนิดใหม่ สินค้าที่มีราคาขึ้นลงอย่างรวดเร็วและสินค้าต้นทุนสูง

2. ประโยชน์ของการฝากขายสินค้าด้านผู้รับฝากขาย

2.1 เป็นการลดความเสี่ยงจากการขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินค้า เนื่องจากผู้รับฝากขายทำหน้าที่เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายไม่ใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้า

2.2 เป็นการลดความเสี่ยงสำหรับเงินลงทุนที่ลงทุนไปสำหรับสินค้าที่ยังไม่ได้ เนื่องจากผู้รับฝากขายไม่ต้องลงทุน
ซื้อสินค้ามาขาย
2.3 เป็นการลดความเสี่ยง เนื่องจากการเก็บสินค้าไว้นานจะทำให้เงินทุนจมหรืออาจทำให้สินค้าเสื่อมคุณภาพ

4.5 สิทธิและหน้าที่ผู้ฝากขายและผู้รับฝากขาย
สิทธิและหน้าที่ของผู้ฝากขายและผู้รับฝากขายมีดังต่อไปนี้

สิทธิและหน้าที่ของผู้ฝากขาย

สิทธิของผู้ฝากขาย

1. มีกรรมสิทธิ์ในสินค้าฝากขายที่ยังจำหน่ายไม่ได้

2. มีสิทธิจะเรียกร้องให้ผู้รับฝากขายจัดทำรายงานการขายสินค้าฝากขายแสดงให้ทราบ

3. มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับฝากขายที่ล้มละลายหรือเลิกกิจการต้องทำการชำระบัญชี ผู้ฝากขายมีสิทธิเรียกร้องให้
ผู้รับฝากขายส่งคืนสินค้าและเงินที่คงค้างมาให้โดยไม่ต้องรอให้ชำระหนี้บุคคลภายนอกก่อน
หน้าที่ของผู้ฝากขาย

1. ผู้ฝากขายมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับผู้รับฝากขาย

2. ในกรณีผู้ฝากขายไม่ได้ทำสัญญาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน ( Agent )

สิทธิและหน้าที่ของผู้รับฝากขาย

สิทธิของผู้รับฝากขาย

1. ผู้รับฝากขายมีสิทธิที่จะได้รับเงินชดใช้สำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับสินค้าฝากขายที่ได้จ่ายไป เช่น
ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าภาษี ค่าเก็บรักษาสินค้า ค่าขนส่ง ค่าซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นต้น
2. ผู้รับฝากขายมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากการรับฝากขายโดยผู้รับฝากขายจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่านายหน้าซึ่ง
คิดเป็นอัตราร้อยละของราคาขายสินค้าหรือตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้กับผู้ขาย
3. ผู้รับฝากขายมีสิทธิที่จะพิจารณาให้สินเชื่อสำหรับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ถ้ามีหนี้สูญเกิดขึ้น ผู้ฝากขายจะต้อง
ภาระหนี้สูญนั้น
4. ผู้รับฝากขายมีสิทธิที่จะทำให้คำรับรองคุณภาพของสินค้าตามปกติ ซึ่งผู้ฝากขายต้องผูกพันในคำรับรองนั้นด้วย

5. ผู้รับฝากขายมีสิทธิในการค้ำประกันสินค้าที่จำหน่ายในฐานะผู้จำหน่ายสินค้า ในฐานะตัวแทนการค้าสินค้า

หน้าที่ของผู้รับฝากขาย

1. ผู้รับฝากขายมีหน้าที่ดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวัง

2. ผู้รับฝากขายมีหน้าที่เก็บรักษาสินค้าที่รับฝากขายแยกต่างหากจากสินทรัพย์ของตนเองเพื่อให้ทราบว่าสินทรัพย์ใด
เป็นของผู้ฝากขาย
3. ผู้รับฝากขายมีหน้าที่ขายสินค้าตามราคาและเงื่อนไขที่ผู้ฝากขายเป็นผู้กำหนด

4. ผู้รับฝากขายมีหน้าที่จัดทำรายงานการขายเพื่อแสดงให้ผู้ฝากขายได้ทราบเกี่ยวกับรายการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับสินค้า
ที่ฝากขายเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งหรือเมื่อขายสินค้าได้
5. ผู้รับฝากขายมีหน้าที่ส่งเงินค่าขายให้ผู้ฝากขายหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และค่านายหน้าแล้ว

6. ผู้รับฝากขายมีหน้าที่ติดตามเก็บเงินจากการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ

บทความโดย : https://sites.google.com

 20769
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores