หน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

หน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ผู้จัดการบัญชี

การทำบัญชี

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการงบัญชี

ปิดบัญชี

งบการเงิน

เก็บรักษาบัญชีและเอกสาร

  • -จัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 7(6)
  • -ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความจริงและถูกต้องตาม มาตรา 19

-จัดให้มีการทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 8 ทำบัญชีตาม มาตรา 7(1)-(4)

•ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ

•ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี

•ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในในบัญชี

•เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

-เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียน / วันเริ่มประกอบกิจการ

- จัดทำเอกสารฯตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 7(4)

-ส่งมอบเอกสารฯให้ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตามมาตรา 12

-ปิดบัญชีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 10

-จัดทำและนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลากำหนด ตามมาต รา11

•มีรายการย่อตามที่กฎหมายกำหนด

•ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

-เก็บบัญชีฯ ณ สถาณที่ทำการ ตามมาตรา 13

-เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามมาตรา 14

-กรณีสูญหายให้แจ้งภายใน 15 วัน ตามมาตรา 15-16 (อาจสันนิษฐานได้ว่ามีเจตนา หากไม่ได้เก็บในท่ปอดภัย / ไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง)

-กรณีเลิกโดยมิได้ชำระบัญชีให้ส่งมอบภายใน 90 วัน ตามมาตรา 17

หน้าที่ของ   ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี  

เนื่องจาก  “ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ” จะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีไว้ ดังนี้

 จัดให้มีการทำบัญชีเมื่อมีการประกอบธุรกิจ โดยจะต้องควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามรายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ดังนี้

  • การจัดทำบัญชี เริ่มจัดทำบัญชีตามวันที่กำหนด ดังนี้
  • -ห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล / บริษัทจำกัด / บริษัทมหาชนจำกัด
  •  เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
  • -นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศแประกอบกิจการในประเทศไทย / กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร / สถาณที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจ
  • 2. การปิดบัญชี
  •      - กรณีที่ปิดบัญชีไม่ครบ 12 เดือน คือ
  •        1) รอบบัญชีแรก
  •        2) รอบปีบัญชีที่ได้ขออนุญาตเปลี่ยนวันสิ้นสุดต่อสารวัตรใหญ่บัญชี หรือ สารวัตรบัญชี

- สถาณที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ ซึ่งมีหน้าที่จะต้องจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ จะต้องปิดบัญชี  พร้อมกับสำนักงานใหญ่

3. จัดทำบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนด ตามมาตรฐานการบัญชี

- ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ

   1) บัญชีรายวัน

   2) บัญชีแยกประเภท

   3) บัญชีสินค้า

  4) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อย ตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ 

            - ข้อความและรายการบัญชีที่ต้องมี

            - ระยะเวาที่ต้องลงรายการในบัญชี

            - เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

      เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลง รายการในบัญชี ซึ่งแบ่งได้เป็น ประเภท คือ

1) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก

2) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก

3) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง

4. จัดทำงบการเงินและนำส่งงบการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด

 1) งบการเงิน หมายถึง รายงานผการดำเนินงานฐานะการเงิน หรือ การเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ไม่ว่าจะรายงานโดย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของของผู้ถือหุ้น งบประกอบ หรือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน

       การจัดทำงบการเงินจะต้องเป็นไปตามรายการย่อ คือ รายการที่ควรจะต้องแสดงซึ่งกำหนดโดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554

    รูปแบบรายการย่อในงบการเงิน แบ่งเป็น แบบ ตามประเภทของธุรกิจ

       แบบ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

       แบบ บริษัท จำกัด

       แบบ บริษัทมหาชน จำกัด

       แบบ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

       แบบ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

บทความโดย : https://act9accounting.com

        

 12614
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores