หน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

หน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

หน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management)

          เกี่ยวข้องกับการบริหารปัจจัยหลัก 3 สิ่ง ดังนี้คือ

  1. การสรรหาบุคลากร (Recruitment)
  2. การดูแลรักษาบุคลากร (Retention)
  3. การพัฒนาบุคลากร (Development)

การสรรหาบุคลากร (Recruitment)

          การสรรหาบุคลากร มีกลยุทธ์ดังนี้

  • มีแผนกำลังคน (Manpower Planning) ที่ชัดเจน  โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การคาดการณ์จำนวนกำลังคนที่ต้องการ  ความต้องการด้านกำลังคนของหน่วยงานนั้นๆ ทั้งด้านคุณภาพและจำนวนในอนาคต  ที่จะสนับสนุนให้แผนธุรกิจประสบความสำเร็จได้สูงสุด
  • มีคุณสมบัติของคนที่ต้องการหา (Qualification) เข้ามาในตำแหน่งต่างๆ ชัดเจน
  • รู้จุดขายของบริษัท (Strength) ชัดเจน
  • รู้แหล่งผู้สมัครงาน และสามารถเข้าถึงก่อนบริษัทอื่น
  • มีวิธีคัดเลือก สัมภาษณ์ผู้สมัคร อย่างมืออาชีพ
  • จ้างงานน่าสนใจ
  • ให้ความสำคัญกับพนักงานใหม่
  • เข้มข้นในการทดลองงาน

 การดูแลรักษาบุคลากร (Retention)

          การดูแลรักษาบุคลากร มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาอยู่หลายประการ หนึ่งในนั้นที่สำคัญต่อการทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน ก็คือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)

 การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)

          คือ  การที่ผู้บริหารประเมินว่าคนทำงานได้ผลเท่าที่ควร จะทำได้ด้อยกว่าหรือดีกว่าที่คาดหมาย และคุ้มค่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้นๆ หรือไม่

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • พิจารณาขึ้นเงินเดือน หรือ ให้บำเหน็จรางวัล
  • เลื่อนตำแหน่ง หรือโยกย้ายงาน
  • พิจารณาให้ออกจากงาน
  • เพื่อตรวจสอบ และ ปรับมาตรฐานการทำงาน
  • เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงาน
  • เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง
  • เพื่อพัฒนาบุคคล

 ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • ประเมินผลสำเร็จของงาน
  • พฤติกรรมในการทำงาน
  • ความรู้ในการทำงาน
  • ศักยภาพของพนักงาน

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับพนักงาน

  • ได้ทราบว่าผลงานของตนเองเป็นไปตามเกณฑ์ของบริษัทหรือไม่
  • มีความพึงพอใจในระบบประเมินที่เป็นธรรม
  • ทราบแนวทางในการพัฒนาความสามารถ และแนวทางที่จะเจริญก้าวหน้าต่อๆ ไปในบริษัท
  • ได้ทราบเป้าหมายและแผนงานที่จะต้องทำ

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับหัวหน้า

  • ได้ทราบว่าลูกน้องของตนเองมีขีดความสามารถ มากน้อยเพียงใด
  • ใช้ระบบประเมินที่เป็นธรรมดึงดูดให้ลูกน้องอยู่กับบริษัท
  • ช่วยให้วางแนวทางในการพัฒนาความสามารถ และแนวทางที่จะเจริญก้าวหน้าต่อๆ ไปในบริษัทของลูกน้องได้ชัดเจน และมีข้อมูลที่ต่อเนื่อง
  • บอกเป้าหมายและแผนงานที่จะต้องทำ
  • ฝึกทักษะการจูงใจและให้คำปรึกษาลูกน้อง

เมื่อผลการประเมินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรมีการแจ้งผลการประเมินให้กับผู้รับการประเมินทราบ เป็นรายบุคคลเพื่อให้ได้เกิดการปรับปรุงแก้ไข  โดยผู้บังคับบัญชาควรจะต้องให้คำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขที่มีประสิทธิภาพต่อไป

          โดยการที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงสุด จะต้องคำนึงถึงสมการดังนี้

                    ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน = ความสามารถ X แรงจูงใจ

  

การพัฒนาบุคลากร (Development)

          คือ กิจกรรมที่มุ่งเสริมสร้างให้บุคลากรในองค์การ ได้เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานให้เป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น  ผ่านการฝึกอบรมและการพัฒนา  การพัฒนาองค์กร  และการพัฒนาวิชาชีพ

 องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace)

          การที่สามารถทำให้คนทุกคนในองค์กรมีความสุขในการทำงานได้ ย่อมจะทำให้องค์กรนั้น เป็นที่ที่ทุกคนอยากอยู่ อยากทำงานด้วย และสามารถนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กรได้ในอนาคต ซึ่งการจะทำให้องค์กร เป็นองค์กรแห่งความสุขได้ มี  8’s Happy ดังนี้

  1. Happy Body  การมีสุขภาพดี
  2. Happy Heart  การมีน้ำใจงาม
  3. Happy Soul  การมีความสงบนิ่ง
  4. Happy Relax  รู้จักผ่อนคลาย
  5. Happy Brain  มีความรู้ที่ดี มั่นศึกษาหาความรู้
  6. Happy Money  ปลอดหนี้
  7. Happy Family  มีครอบครัวที่ดี รักครอบครัว
  8. Happy Society  มีสังคมที่ดี

 ที่มา คู่มือความสุข 8 ประการในการทำงาน Happy Workplace,

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)

 

“ความสุขในการทำงาน เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของบุคคล ที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการทำงานหรือ ประสบการณ์ของบุคคลในการทำงาน ประกอบด้วย  ความรื่นรมย์ในงาน  ความพึงพอใจในงาน และความกระตือรือร้นในการทำงาน”

Warr (นักจิตวิทยา)

 15100
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores