BLOG myAccount Cloud

BLOG myAccount Cloud

1620 รายการ
วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสาขาสามารถทำได้ 3 วิธี คือ วิธีที่ 1 สำนักงานใหญ่บันทึกรายการค้าเกี่ยวกับสาขาเอง สำนักงานใหญ่จะเป็นฝ่ายเก็บบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสาขารวมหรือแยกจากรายการของสำนักงานใหญ่ โดยให้สาขาส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้นมาให้สำนักงานใหญ่เพื่อบันทึกบัญชีโดยละเอียด การดำเนินงานของสาขาในลักษณะนี้คล้ายกับตัวแทน ใช้กับสาขาที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ยังมีรายการค้าไม่มาก และสำนักงานใหญ่ยังไม่ให้อิสระในการดำเนินงาน วิธีที่ 2. บันทึกบัญชีทั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขา เมื่อสาขาบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชีของสาขาแล้วจึงส่งรายงานให้สำนักงานใหญ่เพื่อให้สำนักงานใหญ่บันทึกบัญชีเช่นเดียวกัน จะทำให้สำนักงานใหญ่ทราบผลการดำเนินงานของสาขาโดยไม่ต้องรอให้สาขารายงาน แต่จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรในการดำเนินงาน ข้อดี ทันเวลา ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้โดยใช้ระบบออนไลน์ ระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขา โดยใช้ระบบสารสนเทศ ข้อเสีย สิ้นเปลือง ซ้ำซ้อน ต้นทุนสูง วิธีที่ 3 สาขาบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเองโดยสมบูรณ์ตามหลักบัญชีคู่ วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เมื่อสาขาบันทึกบัญชีตามรายการค้าที่เกิดขึ้น (โดยเปิดบัญชี "เดินสะพัดสำนักงานใหญ่") และทำการปิดบัญชีแล้ว จึงจัดทำงบการเงินของสาขา หลักจากนั้นจึงส่งงบทดลองให้สำนักงานใหญ่เพื่อให้สำนักงานใหญ่นำไปจัดทำงบการเงินรวม (โดยสำนักงานใหญ่จะเปิดบัญชี "เดินสะพัดสาขา") เพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานโดยรวมของสำนักงานใหญ่และสาขา การตัดบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินรวม เมื่อสำนักงานใหญ่ส่งสินค้าไปให้สาขาในราคาทุนมีหลักการตัดัญชี ดังนี้
3558 ผู้เข้าชม
งบการเงินรวม งบการเงินรวม หมายถึง งบการเงินของกลุ่มกิจการ (ซึ่งกลุ่มกิจการ หมายถึง บริษัทใหญ่และบริษัทย่อย ) ที่มีการนำเสนอสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าผู้ถือหุ้น รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสดของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเสมือนว่าเป็นของหน่วยงานทางเศรษฐกิจหน่วยงานเดียวกัน งบที่จัดเตรียมขึ้นนสาหรับบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเรียกว่า “งบการเงินรวม” (Consolidated financial statements) ซึ่งประกอบด้วยงบกาไรขาดทุนเบดเสร็จรวมงบกาไรสะสมรวมงบรวม และงบกระแสเงินสดรวม
1674 ผู้เข้าชม
การบัญชีด้านสำนักงานใหญ่ การบันทึกบัญชีสำหรับรายการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ส่งให้สาขา แยกเป็นแต่ละวิธีของการแจ้ง ราคาสินค้าที่ส่งให้สาขาทราบและ วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าดังนี้ - เมื่อส่งสินค้าให้สาขา ในราคาทุน การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้
3176 ผู้เข้าชม
การบัญชีเกี่ยวกับสินค้าส่งไปให้สาขา การจัดส่งสินค้าของสำนักงานใหญ่ไปให้สาขาย สำนักงานใหญ่มีวิธีการแจ้งราคาแก่สาขาที่แตก ต่างกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละกิจการ ราคาสินค้าที่สำนักงานใหญ่แจ้งให้สาขาทราบอาจเป็นราคาใด ราคาหนึ่งดังนี้ 1) ราคาทุนของสำนักงานใหญ่ (Home Office Cost) เป็นวิธีที่มีแนวคิดว่ากำไรที่เกิดขึ้นเป็นผลการดำเนินงานของสาขาทั้งสิ้น สำนักงานใหญ่สามารถ นำกำไรขาดทุนที่สาขาแจ้งมารวมกันกับกำไรขาดทุนของสำนักงานใหญ่ได้เลยไม่ต้องปรับปรุงแต่ประการใด และ สินค้าคงเหลือของสาขาก็แสดงด้วยราคาทุนที่ได้มาแล้วซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมจึงไม่ต้องมีการปรับปรุง
1051 ผู้เข้าชม
ในการประกอบธุรกิจต่างๆ สิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องการนอกจากความมั่นคงของกิจการแล้ว ธุรกิจยัง ต้องการความเจริญเติบโตของธุรกิจโดยการขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น มีสาขาเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ มีการกระจายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคโดยผ่านตัวแทนการจัดจำหน่ายเโดยให้สิ่งจูงใจแก่ตัวแทนการ จำหน่ายที่เพียงพอเป็นการตอบแทน ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้มีการนำมาใช้ค่อนข้างแพร่หลายเพื่อความมั่นคงทางการเงิน และการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
7614 ผู้เข้าชม
Home » เรื่องบัญชี (Accounting) » การทำบัญชีสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง (บุคคลธรรมดาไม่จดVAT) การทำบัญชีสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง (บุคคลธรรมดาไม่จดVAT) By Nittha Pantuseema (Admin) On July 19, 2017 In เรื่องบัญชี (Accounting) 2 Comments 121 การทำบัญชีสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง (บุคคลธรรมดาและไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เขียนตอนนี้ขึ้นมาเพื่อผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เหตุผลเพราะหลังจากได้ทำงานกับผู้รับเหมาก่อสร้างมาสักระยะ พบปัญหาของผู้รับเหมาคือทำงานจบแล้วทำไมถึงไม่มีเงินเหลือ ไม่ทราบกำไรต้นทุนที่แท้จริงในงานที่ทำ ไม่เข้าใจระบบภาษีที่ถูกหักไว้แล้วนำไปยื่นภาษียังไงส่วนใหญ่เลยไม่ได้ยื่นภาษีปรากฏสรรพากรมีการตรวจสอบและโดนภาษีย้อนหลังเลยก็มาก ทำงานเสร็จแล้วจะต้องเก็บข้อมูลยังไง ต้องเตรียมตัวสำหรับงานใหม่ยังไง ขอสรุปกระบวนการสำหรับการจัดการสำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้างเฉพาะที่เป็นบุคคลธรรมดาและไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ว่าจะเป็น งานรั้ว งานไฟฟ้า ระบบประปา งานติดตั้ง ฯลฯ ถ้าทำให้ถูกต้องก็ไม่มีอะไรต้องกลัวนะคะเรามาเริ่มกันเลย ก่อนเริ่มงาน
10550 ผู้เข้าชม
ระบบเงินสดย่อย (Petty Cash) เงินสดย่อย หมายถึง เงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเบิกธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย) เพื่อกิจการจะได้มีไว้ใช้จ่าย สำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก ระบบควบคุมภายในที่ดี กิจการไม่ค่อยนำเงินสดมาใช้จ่าย แต่การจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารโดยการเขียนเช็คสั่งจ่ายในนามผู้รับ และขีดคร่อมเช็คฉบับนั้น และโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ถือเงินสดย่อยไว้ในมือจำนวนมากๆ เหตุผลเพราะ
94776 ผู้เข้าชม
ประโยชน์ที่แท้จริงของมาตรการบัญชีชุดเดียว ( SMEs ) เมื่อต้นปี 2559 มีข่าวที่สร้างความฮือฮาให้กับแวดวง SMEs ของเราคือ การที่ภาครัฐขอให้ SMEs จัดทำบัญชีชุดเดียว และต้องเข้าระบบให้ถูกต้อง ฟังแล้วเหมือนจะโหดร้ายกับหลาย ๆ SMEs ที่ไม่เคยเน้นเรื่องภาษีเลย ไม่รู้ว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรกับมาตรการบัญชีชุดเดียวที่รัฐบาลชงออกมา ของแถมตอนนี้ที่เราจะได้รับจากภาครัฐง่ายๆเลยคือ โปรแกรมบัญชีที่ทางรัฐจัดให้แบบฟรี ๆ เพื่อทำให้ธุรกิจของเรามีการจัดทำบัญชีสะดวกขึ้นและมาตรฐานเดียวกัน คือ เราจะรู้ว่า กำไรขาดทุน เท่าไหร่ ฐานะการเงินของบริษัทเป็นอย่างไรสำหรับในธุรกิจที่เราทำอยู่ เพราะ SMEs ของเราตอนนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้กำไรขาดทุนที่แท้จริงเป็นเท่าไหร่ หรือฐานะทางการเงินจริงๆ เป็นอย่างไร จะมีแค่เหลือเงินเท่าไหร่ การไปขอเงินกู้จากธนาคารก็ทำได้ยากเพราะบางบริษัทไม่มีระบบบัญชีสนับสนุน ซึ่งหากเรามีอย่างน้อย ๆ ตอนนี้คือระบบบัญชีที่รัฐบาลออกมาให้โหลดฟรี ๆ มา คิดดูแล้วกันว่าธุรกิจเราจะไปไกลแค่ไหน เพราะเหตุผลง่าย ๆแค่นี้ จึงมีมาตรการบัญชีชุดเดียวขึ้นมาช่วยเหลือชาว SMEs ที่มีอีกหลายร้อยรายกำลังจะจมน้ำตายเพราะไม่มีระบบบัญชีไว้คอยช่วยเหลือกิจการ
2021 ผู้เข้าชม
5 สูตรบัญชีสำคัญ ที่คุณควรรู้ 5 สูตรบัญชีสำคัญ ที่คุณควรรู้ หากพิจารณาข้อมูลในงบการเงิน ไม่ว่าจะเป็นรายงานงบดุล (Balance Sheet) หรือ งบกำไรขาดทุน (Income statement) จะพบว่าทั้งสองรายงานประกอบด้วยข้อมูลทางบัญชีจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ใช้ประโยชน์จากงบการเงิน เช่น ผู้ประกอบการ / เจ้าของกิจการ นักลงทุน หรือคู่ค้าทางธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกข้อมูลที่ปรากฏในรายงานทางบัญชี เนื่องจากมีวิธีการอ่านงบการเงินที่ง่าย โดยการเข้าใจสูตรบัญชีที่สำคัญ ซึ่งในบทความนี้ ได้รวบรวม 5 สูตรการบัญชีที่ใช้บ่อยที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลทางบัญชีไปวิเคราะห์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนี้
148788 ผู้เข้าชม
การบันทึกบัญชีมีกี่ประเภท และมีหลักการบันทึกบัญชีอย่างไรบ้าง การบันทึกบัญชี แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ ระบบบัญชีเดี่ยว เป็นวิธีการบันทึกบัญชีเพียงด้านเดียวเท่านั้นคือ ด้านเดบิตหรือด้านเครดิต ระบบบัญชีเดี่ยวนี้จะบันทึกเฉพาะ รายการในบัญชีเงินสด หรือ บัญชีที่สำคัญบางบัญชี เช่น บัญชีลูกหนี้หรือบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น โดยไม่ได้ใช้การบันทึกรายการ ตามระบบบัญชีคู่ที่ต้องบันทึกรายการบัญชีทั้งด้านเดบิตและเครดิต การบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีเดี่ยวนี้นิยมใช้ในกิจการ ขนาดเล็กที่เจ้าของเป็นผู้ควบคุมและจดบันทึกเอง สำหรับธุรกิจขนาดย่อมขึ้นไปไม่ควรนำระบบบัญชีเดี่ยวมาใช้ เนื่องจากจะมี ปัญหาในการเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทางการบัญชี และการจัดทำงบการเงิน
41007 ผู้เข้าชม
256444 ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์